http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ต้นเหลียง
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 27/06/2011
ปรับปรุง 12/03/2021
สถิติผู้เข้าชม1,069,047
Page Views1,459,107
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
ข้อมูลต้นเหลียง
ผักปลอดสารพิษ
ผักพื้นบ้าน
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

ปลูกผักเหลียงในภาคเหนือ

ปลูกผักเหลียงในภาคเหนือ
ปลูกผักเหลียงในภาคเหนือผลผลิตไม่แพ้ภาคใต้ ขายได้โลละ 200 บาท

ผักเหลียงเป็นผักป่าชนิดหนึ่งที่คนภาคใต้นำมาประกอบอาหาร เนื่องจากมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูงและปลอดสารเคมี ผักเหลียงเจริญเติบโตได้ดีในสภาพร่มเงา ขึ้นได้ดีในบริเวณพื้นที่ราบและเนินเขาที่มีฝนตกชุกในจังหวัดชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี ปัจจุบันเกษตรกรนำมาปลูกในสวนผลไม้และสวนยางพารา แม้แต่ในพื้นที่ภาคเหนือ ผักเหลียงยังปลูกได้ผลผลิตได้ดีไม่แพ้ภาคใต้ ซึ่งหาดูเมื่อมาเที่ยวชมงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ ในงานนิทรรศการพืชสวนใต้ร่มยางฯ ด้านหลังของหอคำหลวง

นายสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่าผักเหลียงเมื่อนำมาปลูกในพื้นที่ภาคเหนือในสวนผลไม้หรือภาคใต้ร่มยางก็สามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ดี เนื่องจากยอดที่เก็บแต่ละครั้งจะช่วยทำให้แตกกิ่งและยอดเพิ่มมากขึ้น ผักเหลียงมีลักษณะเป็นทรงพุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอก ปลายใบแหลม ใบอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียวเข้มมัน เนื่องจากผักเหลียงมีรสชาติดีและมีคุณค่าอาหารสูง จึงเป็นที่นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารพื้นบ้านของคนไทยที่รับประทานกันเป็นประจำวันขาดไม่ได้ นั่นคือน้ำพริกผักจิ้ม หรือนำมาต้มจืด ต้มกะทิ ในรูปแบบอื่นๆ ก็สามารถทำได้

ผักเหลียงปลูกด้วยการขยายพันธุ์ได้ 3 วิธี คือ 1. การเพาะเมล็ด หลังจากงอกเป็นต้น ให้นำลงถุงเพาะชำเลี้ยงไว้ 1 ปี จึงนำลงปลูกในแปลง 2. ไหลราก โดยขุดต้นที่งอกจากรากแขนง แล้วนำลงชำถุงดำประมาณ 6 เดือนจึงนำลงปลูกในแปลง 3. การตอนกิ่ง ควรเลือกกิ่งที่มีสีน้ำตาลอ่อน คือไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ใช้เวลาตอนประมาณ 2 เดือน หลังจากมีรากแล้วจึงตัดมาชำในถุงดำอีกประมาณ 2-3 เดือนจึงย้ายลงปลูกในแปลงได้

การปลูกผักเหลียงในแถวยาง ควรปลูกหลังจากที่ต้นยางอายุ 4 ปี แล้วเพราะยางพาราจะให้ร่มเงาได้ดี โดยปลูกห่างจากต้นยางอย่างน้อย 2.5 เมตร ปลูกได้ 2 แถว ระยะจากต้นผักเหลียง 2.5–3 เมตร ระยะระหว่างแถวผักเหลียง 2–2.5 เมตร ขุดหลุมให้มีขนาดกว้าง ยาว ลึก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต 100 กรัม/หลุม จึงนำถุงชำผักเหลียงลงปลูก ช่วงที่เหมาะสม คือ ต้นฤดูฝน

หลังจากปลูกแล้ว ควรให้ปุ๋ยหลักหรือปุ๋ยคอก 2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี และปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 ในอัตรา 200 กรัมต่อต้นต่อปี ใส่ปีละ 2 ครั้ง พร้อมกับกำจัดวัชพืชที่ขึ้นรอบๆ โคนต้นด้วย สำหรับการตัดแต่งกิ่งควรรอให้ต้นสูงประมาณ 1 เมตร เพื่อสะดวกในการเก็บผลผลิต และยังเป็นการเร่งให้แตกกิ่งและยอดเป็นการขยายทรงพุ่มให้ดียิ่งขึ้น พออายุ 2 ปี ก็เริ่มเก็บยอดได้และจะเก็บได้ใหม่อีกหลังจาก 15-30 วันแล้ว การเก็บยอดเกษตรกรควรเก็บให้ชิดข้อ ไม่ควรเก็บกลางข้อเพราะจะทำให้การแตกยอดอ่อนครั้งต่อไปช้า เมื่อเก็บมาแล้ว ให้นำมาเก็บในที่ร่มพรมน้ำพอชุ่ม จะทำให้สามารถเก็บรักษาความสดได้นานถึง 5-6 วันก่อนจำหน่าย

ปัจจุบันการปลูกผักเหลียงสามารถเก็บขายได้กิโลกรัมละ 160-200 บาท สำหรับต้นผักเหลียงนั้น หาซื้อกิ่งพันธุ์ไม้ตรงแยกชุมพร จ.ชุมพร, อ.เมือง อ.กระบุรี จ.ระนอง และ อ.เมือง จ.พังงา ในราคากิ่งละ 11 บาท หากเกษตรกรในภาคเหนือสนใจจะปลูกผักเหลียงไว้บริโภค หรือปลูกเป็นการค้าก็เป็นรายได้อีกทางหนึ่งของเกษตรกรภาคเหนือ หากเกษตรกรสนใจสอบภาพได้จากแหล่งข้อมูลที่ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตระนอง ต.บางใหญ่ อ.กระบุรี จ.ระนอง 85110 โทร.077-274-0978 หรือที่สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร. 02-579-7557-8, หรือที่สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โทร.02-579-7557-8, 02-579-1576 ได้ในเวลาราชการ

 
ติดต่อเรา / Contact us E-mail : Bailang@windows.com Or http://bailang.igetweb.com
view