http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ต้นเหลียง
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 27/06/2011
ปรับปรุง 12/03/2021
สถิติผู้เข้าชม1,068,976
Page Views1,459,034
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
ข้อมูลต้นเหลียง
ผักปลอดสารพิษ
ผักพื้นบ้าน
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

ผักเหลียงชุมพร

ผักเหลียงชุมพร

"ผักเหมียง" หรือ "ผักเหลียง" เป็นไม้พุ่มยืนต้น
มักพบขึ้นตามเนินเขาหรือที่ราบทั่วไป
เพื่อนผู้เขียนที่กระบี่เคยบอกว่าผักเหมียงหรือผักเหลียง หากจะให้ใบมันอร่อยมากขึ้น
ไม่กระด้างจนเกินไปต้องปลูกในที่ร่มอย่างเช่นปลูกแซมในสวนยางพารา
หรือสวนปาล์มที่เป็นเกษตรกรรมหลักของทางภาคใต้


ต้นเหลียงมักไม่ใคร่มีศัตรูพืชมากนัก ไม่โดนแมลงหรือเชื้อรารบกวน
กินผักเหลียงจึงพอจะมั่นใจได้ว่าจะปลอดจากสารพิษ อันที่จริงผักจากไม้ยืนต้นส่วนใหญ่
ก็มักจะปลอดสารพิษอยู่แล้ว เมื่อได้เจอะเจอผักเหลียงรสอร่อย
อีกทั้งยังปลอดสารพิษขนานแท้ จึงอยากจะแนะนำต่อๆ
กันว่าผักประเภทผักเหลียงหรือผักเหมียงนี่แหละ น่าจะเหมาะที่สุดในการขึ้นโต๊ะ


ผักเหลียงเอามาผัดไข่ได้อร่อย เอามาทำแกงเลียงได้รสชาติกลมกล่อม
แกงส้มใส่กุ้ง หรือจะเอาไปทำห่อหมก แกงจืด หรือทำผักเหนาะแนมขนมจีน ทำได้ทั้งนั้น
จะเอามาดัดแปลงทำแกงเผ็ดก็อร่อย ราคาไม่แพงเลยเมื่อได้ไปเห็นผักเหลียงวางขายในตลาด
เป็นกำๆ ละ 7-12 บาท
เทียบกับผักที่ไม่ปลอดสารพิษในกรุงเทพฯแล้ว ผักเหลียงทั้งปลอดภัย
ทั้งอร่อยทั้งประหยัดมากกว่า

เสียดายที่หาผักเหลียงในกรุงเทพฯได้ยาก
จึงน่าจะมีใครสักคนที่หาหนทางนำผักอร่อยเหล่านี้
มาเผยแพร่ทางภาคกลางหรือภาคเหนือบ้าง นับวันคนกรุงเทพฯก็นับจะกินผักน้อยลง
ในขณะที่อาหารการกินในภาคใต้ ร่ำรวยไปด้วยพืชผักสารพัด

ผักเหลียงอุดมไปด้วย
เบต้าแคโรทีน ที่ต้องถือว่าเป็นสารต้านออกซิเดชั่นที่สำคัญ
ทั้งยังเป็นสารตั้งต้นสร้างวิตามินเออีกด้วย
มีข้อมูลออกมาจากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่า
ผักเหลียงร้อยกรัมหรือหนึ่งขีดไม่รวมก้าน ให้เบต้าแคโรทีน สูงถึง 1,089 ไมโครกรัมหน่วยเรตินัล สูงกว่าผักบุ้งจีนสามเท่า มากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่า


ผักเหลียงมีเบต้าแคโรทีนมากกว่าใบตำลึงเสียด้วยซ้ำ ผักที่ถือว่า เป็นสุดยอดของแหล่งเบต้าแคโรทีนคือแครอท ก็ไม่ได้มีเบต้าแคโรทีนมากไปกว่าผักเหลียงเลย
เบต้าแคโรทีนเป็นสารสีส้ม
แต่กลับมองไม่เห็นสีส้มในผักเหลียงก็เพราะมันถูกสีเขียว ของใบผักปกปิดไว้จนหมด
กินผักเหลียงจึงให้ทั้งคุณค่าของเบต้าแคโรทีนและสารพฤกษเคมีจากผักใบ


ผักเหลียงยังให้คุณค่าของแคลเซียมและฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูก
สารพัดคุณค่าโภชนาการอย่างนี้
เห็นทีจะต้องช่วยกันสนับสนุนการบริโภคผักเหลียงกันให้มากขึ้นแล้วละครับ

 

ดร.วินัย ดะห์ลัน

 

ที่มา : http://www.thaifitway.com/education/ndata/n2db/question.asp?QID=4

 

 

 

 

 
ติดต่อเรา / Contact us E-mail : Bailang@windows.com Or http://bailang.igetweb.com
view