http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 ต้นเหลียง

สถิติ

เปิดเว็บ27/06/2011
อัพเดท12/03/2021
ผู้เข้าชม1,067,554
เปิดเพจ1,457,430

ข้อมูลต้นเหลียง

กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดคลอโรฟิลล์ด้วยเอทานอลจากผักเหมียง

พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้

ข้อมูลของหนังสือผักเหลียง

ผักเหลียงชุมพร

ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้

ปลูกต้นไม้ ๘๔ ชนิด เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ปลูกผักเหมียงในสวนยาง รายได้ง่าย ๆ

โครงการส่งเสริมอาชีพเสริมและเงินหมุนเวียน

การปลูกผักเหลียง

การศึกษาทางสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของผักเหมียง

ปลูกผักเหลียงเป็นพืชแซมสะตอ

เส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นทางที่ 1 ชมธรรมชาติรอบๆป่าวัดสวนวางระยะทาง 500 - 600 เมตร

การปลูก”ผักเหมียง(เหลียง)”ร่วมกับต้นยางพารา

ปลูกผักเหมียงแซมยาง เสริมรายได้

ต้นไม้พื้นบ้านทางใต้ ที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และน่าจะปลูกได้ทุกที่

การปลูกผักเหลียงในสวนยาง

ปลูกผักเหลียงในภาคเหนือ

Cara mencegah penuaan dini atasi pakai daun MELINJO !!

ผักปลอดสารพิษ

ผักพื้นบ้าน

iGetWeb.com
AdsOne.com

ผักพื้นบ้านต่อการต้านสารอนุมูลอิสระ

ผักพื้นบ้านต่อการต้านสารอนุมูลอิสระ
 

เรียบเรียงโดย : เกศศิณี ตระกูลทิวากร

แต่เดิมนั้นผู้บริโภคได้รับการบอกกล่าวให้คำนึงถึงองค์ประกอบในอาหาร 5 หมู่คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่และน้ำ เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ ทว่าปัจจุบันจากการค้นคว้าวิจัยเรื่องสารประกอบในอาหารกับสุขภาพ มีความเข้าใจมากขึ้นว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้สุขภาพแข็งแรง พบว่าโรคบางชนิดมีอาหารเป็นต้นเหตุ เช่น โรคหัวใจและโรคมะเร็ง เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากเกินควร และพบว่าในอาหารประเภทผักผลไม้มีเส้นใยอาหารและสารไฟโตเคมีคอล (phytochemical) เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนั้นประเทศซีกตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป ที่ประชาชนนิยมบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จึงทำการรณรงค์อย่างหนักให้ประชาชนรับประทานผักหรือผลไม้ทุกวัน เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและมะเร็ง ซึ่งมีอัตราการเป็นโรคสูงในประเทศดังกล่าว สำหรับประเทศไทยนั้นอัตราการเป็นโรคจะสูงขึ้น หากเรายังยึดวัฒนธรรมการบริโภคเนื้อสัตว์ดังประเทศซีกโลกตะวันตก ทั้ง ๆ ที่เรามีอาหารประจำท้องถิ่นหลากหลายชนิดที่มีผักเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น แกงเลียง แกงส้มของชาวภาคกลาง แกงอ่อม แกงส้มของชาวอีสาน แกงแค แกงผักพื้นเมืองต่าง ๆ ของชาวเหนือ หรือแกงไตปลา แกงส้มของชาวใต้

ประเทศไทยมีผักพื้นบ้านเป็นร้อย ๆ ชนิด บริโภคทั้งแบบสด นึ่ง ลวก ต้น หรือผัด หลากหลายกรรมวิธีและรสชาดที่บรรพบุรุษคิดค้นไว้ อีกทั้งให้ความรู้ในทางยาของผักบางตัวที่เรียกกันว่า สมุนไพร เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้เผยแพร่สู่สาธารณชนแล้ว และขณะนี้ทางสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ได้ทำการวิจัยถึงศักยภาพของผักพื้นบ้านไทย ที่มีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระและต้านสารก่อกลายพันธุ์ ซึ่งผลงานวิจัยน่าจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคทั้งประเทศ

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) จากสารอนุมูลอิสระ

หลอดเลือดแดงตีบและแข็งเนื่องจากการฝังตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือดแดง ดังรูปที่ 1 มีขบวนการเกิดดังนี้ ในกระแสเลือดจะมีสารต่าง ๆ มากมาย ซึ่งรวมถึง LDL (Low Density Lipoprotein) สารอนุมูลอิสระชนิดต่าง ๆ และ macrophage ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ในสาร LDL นั้น ประกอบด้วย ไขมัน โปรตีน โคเลสเตอรอล และโคเลสเตอรอลเอสเทอร์ ไขมันที่เป็นองค์ประกอบมีกรดไขมันที่ไวต่อการถูกออกซิไดซ์นี้เองที่จะถูกกระทำโดยสารอนุมูลอิสระ หลังจากกรดไขมันถูกออกซิไดซ์ LDL นั้น จะกลายเป็น oxidized LDL เป็นสิ่งแปลกปลอม ซึ่งพร้อมที่จะถูกกำจัดโดย macrophage (ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมในกระแสเลือด) แบบล้อมกลืน หลังจาก oxidized LDL รวมตัวกับ macrophage โฟมเซลล์ (foam cell) จะถูกสร้างขึ้น ซึ่งประกอบด้วยหยดของสารโคเลสเตอรอล และของสารโคเลสเตอรอลเอสเทอร์ และโฟมเซลล์นี้เองจะไปฝังตัวที่ผนังหลอดเลือดแดง ผนังหลอดเลือดแดงส่วนนี้จะได้รับสาร growth factor จาก macrophage กระตุ้นให้เซลล์กล้ามเนื้อเรียบแบ่งตัว ซึ่งในที่สุดทำให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง
สารอนุมูลอิสระ (HOo O2o ROo ROOo) มีแหล่งที่มาจาก
1) อาหารที่มีกลิ่นหืน เกิดจากกรดไขมันถูกออกซิไดซ์ ซึ่งจะให้สารของกลิ่นหืน และสารอนุมูลอิสระ
2) จากปฏิกิริยาลูกโซ่ของปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของกรดไขมันตั้งต้นจากสารอนุมูลอิสระ 1 ตัว
3) ในระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ตามธรรมชาติ สารอนุมูลอิสระเป็นสารที่ร่างกายต้องเกี่ยวข้องตามระบบธรรมชาติ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในทางลบแก่ร่างกายได้ และแน่นอนว่าร่างกายเราก็ต้องมีระบบอื่น ๆ มาแก้ไขความเสียหายที่ถูกสร้างขึ้นตามสมดุลธรรมชาติ แต่ทว่าสมดุลธรรมชาติอาจเสียได้ ดังนั้นการปรับสมดุลอาจทำได้โดยการรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ/สารต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (antioxidant) ซึ่งพบในพืชผัก ผลไม้
โดยสารต้านอนุมูลอิสระทำหน้าที่ป้องกันการเกิด/สร้างสารอนุมูลอิสระ กำจัดสารอนุมูลอิสระก่อนเข้าทำลายไขมัน โปรตีน หรือ nucleic acid ของเซลล์ ทำการซ่อมแซมสิ่งที่ถูกทำลายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ขจัดโมเลกุลที่ถูกทำลาย ซ่อมแซมสิ่งที่ถูกทำลายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ขจัดโมเลกุลที่ถูกทำลาย และป้องกันการก่อกลายพันธุ์ด้วยสาเหตุจากโมเลกุลที่ถูกทำลาย

 

 

ผักพื้นบ้านต่อการต้านสารอนุมูลอิสระ
ทางสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารได้ทำการวิจัยถึงศักยภาพของฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระในผักพื้นบ้านไทยจำนวนมากมายกว่าร้อยชนิด
ศักยภาพในการต้านสารอนุมูลอิสระของผักพื้นบ้านไทย
สูง
มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ
> 2% ของน้ำหนักผักแห้ง
กลาง
มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ
0.36- 2% ของน้ำหนักผักแห้ง
ต่ำ
มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ
< 0.36% ของน้ำหนักผักแห้ง
ฝอยทอง ผักหนาม ผักแปม ผักฮ้วน ยอดมะม่วง ฝักกระถิ่น ยอดกระถิน ผักเม็ก ยอดถั่วลันเตา ผักบุ้งไทย ผักกาดนกเขา ยอดมะปริง ตะไคร้ ลูกเนียง ยอดมันเทศ ยอดทำมัง ยอดเหมียง (เหลียง) ยอดหมุย ยอดมันปู ขี้เสียด ผักปู่ย่า (ช้าเลือด) ยอดมะปราง ใบมะเม้า บัวเผื่อน ยอดมันแกวเขียว ผักพาย (ตาลปัตรฤาษี) ผักโขมใหญ่ ผักโขมไทย ดอกโสน ถั่วฝักยาว ผักไผ่ (ผักแพว) ฝักมะลิดไม้ (เพกา) หอมแย้ ผักขี้หูด ยอดผักปลัง ดอกผักปลัง ผักเสี้ยว ผักเกี๋ยงพา ผักคาวทอง (พลูคาว) ผักเฮือด ขนุนอ่อน ผักเซียงดา ผักเสี้ยน มะแขว่น ผักอีหล่ำ (มะกล่ำตาช้าง) ผักขะแยง ถั่วแปบ สะแล ผักเหมือด ผักกระเผ้กขี้ขวง (สะเดาดิน) ผักติ้ว ใบชะพลู ใบบัวบก ใบยอ ผักบุ้งจีน ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว ยอดสะเดา (ดอก) ใบขี้เหล็ก ใบแมงลัก ยอดพริก ใบชะอม พริกไทยอ่อน ผักชี ตั้งโอ๋ ยอดเล็บครุฑ บอน ใบชะมวง ลูกเหรียง ถั่วพู ฝักมะรุม ใบยี่หร่า (กะเพราช้าง) ผักคะน้า บวบ ใบตำลึง สะตอ ส้มเม่า ผักชีล้อม ผักชีไร่ (ผักแย้) ผักริ้น ถั่วลาย ยอดมะกอกไทย ยอดเทียม ดอกขี้เหล็ก แตงโมอ่อน ผักหนอก ต้นกระชาย ดอกกระเจียวแดง ผักกระสัง ขมิ้นชัน กุยซ่าวขาว กุยช่าย ดอกแคบ้าน ผักหวานบ้าน เล็บรอก ดอกสัง มะเขือตอแหล มะเขือเปราะม่วง ผักก้านตง ผักแว่น ใบปอ ลูกมะแว้ง ต้นข่าอ่อน ดอกข่า ใบสะเดาอ่อน ดอกผักเซียงดา กี๋กุ๊ก พ่อค้าตีเมีย ผักเผ็ด (ผักคราด) ผักแส้ว ดอกแค หางค่าง ใบย่านาง งิ้ว ผักโขมเล็ก กระบก ดีปลี บวบงู ผักหวานป่า ใบกะเพรา ใบโหระพา ดอกผักชีฝรั่ง หัวปลี ผักกูด คูน ยอดมะระจีน จะค่าน ผักแมะ เผือกหอม ยอดมะขาม ลูกเถาคัน ยอดฟักทอง เห็นมัน เห็ดตับเต่า เห็ดลม ต้าง มะข่วน กำบิด เห็นขอนขาว เห็ดเผาะ ลูกเนียงนก ปูเลย (ไพล) เห็ดแครง ลูกแฟบ หัวแส้ เห็ดปลวก เห็ดโคน


การเกิดโรคมะเร็งและการยับยั้งด้วยสารสกัดจากพืช

 

ขั้นตอนการเกิดโรคมะเร็งเริ่มจากการกลายพันธุ์ (mutation) ของ DNA ในเซลล์หนึ่ง เกิดผิดปกติทำให้เซลล์เพิ่มจำนวน (cell proliferation) และเมื่อเพิ่มมากขึ้น ๆ จะกลายเป็นก้อนเนื้องอก จากนั้นเซลล์ที่ผิดปกติจะเคลื่อนย้ายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย และทำให้เซลล์เพิ่มจำนวนกลายเป็นก้อนเนื้องอกอีก แต่จากรายงานการวิจัยด้านการยับยั้งการเกิดมะเร็งพบว่า สารที่เป็นองค์ประกอบในพืชผักและผลไม้บางชนิดมีคุณสมบัติยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ หรือการเกิดเนื้องอกได้ ขั้นตอนที่สารสกัดจากพืชผักและผลไม้มีบทบาทต่อการยับยั้งคือ ทำให้ DNA ที่กลายพันธุ์กลับกลายเป็น DNA ปกติ ยับยั้งการเจริญของเซลล์กลายพันธุ์ ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์กลายพันธุ์ และทำให้สารก่อกลายพันธุ์เสียคุณสมบัติ ซึ่งจะไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ต่อไป ผักพื้นบ้านของไทยเรานั้น มีจำนวนมากที่พบว่ามีสารที่มีคุณสมบัติด้านการเกิดโรคมะเร็งไม่ขั้นตอนใดก็ขั้นตอนหนึ่ง
ได้ทำการวิจัยถึงคุณสมบัติของผักพื้นบ้านไทยที่มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์กว่า 100 ชนิด พบว่าผักที่มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์อันเกิดจากสาร Trp-P-1 Trp-P-2 และ PhIP ซึ่งพบในอาหารปิ้ง ย่าง ทอด สูงมากคือ ฝักเพกา (มะลิดไม้) ยอดหมุย ยอดสะเดา ทำมัง และฝอยทอง ผักที่พบว่ามีประสิทธิ์ภาพป้องกันการเพิ่มจำนวนของเซลล์กลายพันธุ์คือ สะเดา เหม็ดชุน และยอดมะปริง และในพืชที่ใช้เป็นเครื่องเทศ เช่น กระชาย และข่า
นักวิจัยของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารได้ทำการวิจัยพบว่า ในกระชายมีสารอินทรีย์มากถึง 6 ชนิดที่มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ที่เกิดจากสาร Trp-P-1 สูงมาก และที่สำคัญการหุงต้มไม่ทำให้คุณสมบัติของสารดังกล่าวสูญเสียไป สำหรับข่านั้นมีสารอินทรีย์ 2 ชนิด เพื่อสกัดออกมาและทดสอบแล้วพบว่า หลังการหุงต้มสารดังกล่าวไม่สูญเสียคุณสมบัติด้านการก่อกลายพันธุ์เช่นกัน
คุณสมบัติด้านการเจริญของเนื้องอกคือ สารองค์ประกอบในพืชสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ที่กลายพันธุ์ มีรายงานว่าผักที่รับประทานในประเทศไทย ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านเป็นส่วนใหญ่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์กลายพันธุ์มากกว่า 70%

ฤทธิ์ต้านการเจริญของเนื้องอกของผักพื้นบ้านไทย
ชื่อผัก ฤทธิ์ในการยับยั้ง
ผักขี้ขวง (สะเดาดิน) ผักโขมหัด มะระขี้นก ใบมะม่วง เพกา (มะลิดไม้) ดอกแก้วเมืองจีน ตั้งโอ๋ แขนงกะหล่ำ ปีแซ ตะไคร้ ชะมวง โหระพา ใบยี่หร่า (กะเพราช้าง) แมงลัก ถั่วลันเตา แคบ้าน ผักแว่น ยอดสะเดา (ต้ม) พริกไทย ชะพลู ใบพลู ผักไผ่ (ผักแพว) ใบยอ มะกรูด มะแขว่น ผักคาวทอง (พลูคาว) ผักขะแยง ผักคึ่นช่าย ใบบัวบก ผักชี ผักชีฝรั่ง หอมแย้ กระชาย ข่า ขิงแก่ มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์ทดลอง > 70%
หัวไชเท้า ฟัก สะระแหน่ ขี้เหล็ก (ดอก) แคบ้าน ยอดสะเดา (สด) หยวกกล้วย พริกหยวก ผักชีลาว ขิงอ่อน มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์ทดลอง 50-70%
ผักบุ้ง บวบหอม มะดัน ขี้เหล็ก เมล็ดกระถิน มะขาม มะขามเทศ มะเดื่อ มะเขือม่วง มะเขือเทศ มะเขือยาว มะเขือพวง มะอึก กระเจี๊ยบมอญ มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์ทดลอง 30-50%
ผักกูด เห็ดลม เห็นนางฟ้า มะกอก เผือก ยอดผักปลัง ดอกผักปลัง ผักกาดแก้ว กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีม่วง บวบงู แตงโม มะระจีน สะตอ ลูกเหนียง ถั่วพู ดอกโสน หอมแดง หอมหัวใหญ่ ต้นกระเทียม กุยช่าย หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกระเจี๊ยบ สายบัว เห็ดหอม พริก มันฝรั่ง แครอท มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์ทดลอง < 30%


จากการศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผักพื้นบ้านไทยกว่าร้อยชนิดเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การดำรงไว้ซึ่งการบริโภคอาหารพื้นเมือง นอกจากจะช่วยป้องกันโรคแล้วยังเป็นกำไรที่ผู้บริโภคได้มาโดยไม่ต้องลงทุนอีกด้วย
จัดทำโฮมเพจโดย : สำนักบริการคอมพิวเตอร์, 14 ตุลาคม 2547

Tags : ศักยภาพในการต้านสารอนุมูลอิสระของผักพื้นบ้านไทย

view

ติดต่อเรา / Contact us

E-mail : Bailang@windows.com

Or http://bailang.igetweb.com

view