http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 ต้นเหลียง

สถิติ

เปิดเว็บ27/06/2011
อัพเดท12/03/2021
ผู้เข้าชม1,067,585
เปิดเพจ1,457,461

ข้อมูลต้นเหลียง

กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดคลอโรฟิลล์ด้วยเอทานอลจากผักเหมียง

พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้

ข้อมูลของหนังสือผักเหลียง

ผักเหลียงชุมพร

ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้

ปลูกต้นไม้ ๘๔ ชนิด เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ปลูกผักเหมียงในสวนยาง รายได้ง่าย ๆ

โครงการส่งเสริมอาชีพเสริมและเงินหมุนเวียน

การปลูกผักเหลียง

การศึกษาทางสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของผักเหมียง

ปลูกผักเหลียงเป็นพืชแซมสะตอ

เส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นทางที่ 1 ชมธรรมชาติรอบๆป่าวัดสวนวางระยะทาง 500 - 600 เมตร

การปลูก”ผักเหมียง(เหลียง)”ร่วมกับต้นยางพารา

ปลูกผักเหมียงแซมยาง เสริมรายได้

ต้นไม้พื้นบ้านทางใต้ ที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และน่าจะปลูกได้ทุกที่

การปลูกผักเหลียงในสวนยาง

ปลูกผักเหลียงในภาคเหนือ

Cara mencegah penuaan dini atasi pakai daun MELINJO !!

ผักปลอดสารพิษ

ผักพื้นบ้าน

iGetWeb.com
AdsOne.com

การปลูกผักไร้พิษข้างบ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

การปลูกผักไร้พิษข้างบ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง



การปลูกผักไร้พิษข้างบ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง



การปลูกผักไร้พิษข้างบ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การปลูกผักที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารมีพิษในการกำจัดโรคหรือแมลงด้วยวิธีการที่ประหยัดง่ายๆ โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ทำจากขยะที่ย่อยสลายได้จากครัวเรือนและเศษวัสดุจากไร่นาสวนเช่นเศษอาหารหรือเศษวัสพืชเป็นต้นผลผลิตผักที่ได้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคไม่มีสารพิษเจือปนเมื่อรับประทานร่างกายจึงปลอดโรคภัยต่างๆและมีชิวิตที่ยืนยาว ผักไร้พิษข้างบ้าน แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้คือ

1.ประเภทพืชผักทั่วๆไป เช่น มะเขือ แตงกวา บักบุ้ง ผักกาดกวางตุ้ง พริก โหระพา ข่า ตะไตร้ มะเขือพวง ถั่วฝักยาวเป็นต้น

2.ประเภทพืชป่ากินได้ เช่น บอนส้ม หัวกลัก บุกเตียง ยอดกรูด แต้ว พาโหม ผักพูม (ผักหวานป่า) ใบย่านาง เตารั้ง ยอ ปุด ลิงติง ส้มควาย (มะขวิด) ชะมวง ลูกชิ่งเป็นต้น

3.ประเภทพืชน้ำกินได้ ได้แก่ ช้องนาง ผักกระเฉด ผักบุ้งน้ำ ราน้ำ ผักตบ ผักหนาม ผักริ้น ลำแย้ หน่อไม้น้ำ เป็นต้น

ผักไร้พิษประเภทที่ 1 การปลูกต้องปลูกโดยใช้มุ้งน้อยจากป่าใหญ่ มิเช่นนั้น การปลูกผักประเภทนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีโรคภัยและแมลงเข้าทำลายสูงมากผู้ปลูกจะไม่สามารถเก็บพืชผักมารับประทานได้
ถึงได้พืชผักก็ไม่สวยงามและไม่เพียงพอต่อการใช้บริโภคในครัวเรือน

ผักไร้พิษประเภทที่ 2 การปลูกไม่จำเป็นต้องใช้มุ้งเนื่องจากพืชผักประเภทนี้มีความต้านทานโรคและแมลงจากธรรมชาคิอยู่แล้วเพียงแต่คอยบำรุงรักษาดูแลให้น้ำให้ปุ๋ย ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมาใช้บริโภคหรือจำหน่ายได้

ผักไร้พิษประเภทที่ 3 ปลูกโดยใช้บ่อท่อซีเมนต์ ขนาดปากกว้าง 1 เมตร หรือ 80 เซ็นติเมตร ใส่ดินผสมสูตรใหม่ ครึ่งบ่อท่อ แล้วเติมน้ำให้เกือบเต็ม นำผักพืชน้ำดังกล่าวข้างต้นมาปลูก 1 บ่อท่ออาจปลูกพืชน้ำได้หลายชนิดไม่จำกัดจำนวน คอยเติมน้ำและให้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ( ดูวิทีการทำจากการปลูกผักด้วยมุ้งน้อยจากป่าใหญ่ ) สับดาห์ละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 15 - 30 วัน ก็สามารถเก็บผักมารับประทานได้ การปลูกผักประเภทนี้ไม่ต้องใช้มุ้งน้อยจากป่าใหญ่ เนื่องจาก พืชน้ำประเภทผักดังกล่าวนี้มีความทนทานและต้านทานโรคได้ดีตามธรรมชาติ จากการทดลองปลูก มาแล้วจำนวน 3 ปี ไม่พบโรคหรือแมลงเข้าทำลาย

          การปลูกผักไร้พิษข้างบ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้ครอบครัวประหยัดรายจ่าย มีอาชีพและรายได้เสริม สมาชิกทุกคนจะมีความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดออม อดทน ตามแนวทางพระราชดำริเสรษฐกิจพอเพียง สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี และที่สำคัญมีชีวิตที่ยืนยาว เพราะได้รับประทานผักไร้พิษและพืชป่ากินได้ พืชน้ำกินได้ บางชนิดเป็นยาสมุนไพร เช่น ถ้ารับประทานใบพาโหมวันละ 2 ใบ คนโบราณบอกว่าจะมีอายุร้อยกว่าปีขึ้นไป ดังเช่น ขุนพันธ์ วรเดช ที่มีอายุยืนยาวถึง 106 ปี จากการอ่านประวัติของท่าน ท่านบอกว่า รับประทานใบพาโหมวันละ 2 ใบ มิได้ขาด ดังนั้นการปลูกผักไร้พิษข้างบ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สามารถช่วยชีวิตคน แก้ปัญหาความยากจน และยืดชีวิตคนให้ยืนยาวได้ ผักไร้พิษข้างบ้านและส่วนที่รับประทานได้ ที่ทุกคนน่าจะนำมาปลูกเพื่อใช้ในการบริโภคในครัวเรือน ซึ่งจะทำให้เป็นการประหยัดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ของตนเองและครอบครัวและที่สำคัญทำให้ผู้ที่บริโภคมีสุขภาพดีและมีชีวิตที่ยืนยาวได้มีดังนี้

1.พาโหม(พืชป่ากินได้) ใช้ยอด ใบ รับประทาน

2.ผักพูม(ผักหวานป่า พืชป่ากินได้) ใช้ ยอดอ่อน รับประทาน

3.ผักเหลียง (พืชป่ากินได้) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

4.เล็บร่อ (พืชป่ากินได้) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

5.มะเดื่อ(ลูกชิ่งพืชป่ากินได้) ใช้ผลอ่อน รับประทาน

6.บอนส้ม (พืชป่ากินได้) ในก้านใบ รับประทาน

7.หอมหรุย (พืชป่ากินได้) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

8.ส้มป่อย(พืชป่ากินได้) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

9.ยอป่า (พืชป่ากินได้) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

10.หัวกลัก(พืชป่ากินได้) ใช้ลำต้น รับประทาน

11.เตารั้ง(พืชป่ากินได้) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

12.เนียง(พืชป่ากินได้) ใช้ยอดอ่อน ผล รับประทาน

13.เพกา(พืชป่ากินได้) ใช้ยอดอ่อน ฝักอ่อน รับประทาน

14.ไผ่เกียบ(พืชป่ากินได้) ใช้หน่อ รับประทาน

15.ส้มควายป่า(มะขวิดพืชป่ากินได้) ใช้ยอดอ่อน ผล รับประทาน

16.ปุด (พืชป่ากินได้) ใช้หน่อ รับประทาน

17.ลิงติง (พืชป่ากินได้) ใช้ผล รับประทาน

18.หูหมี (พืชป่ากินได้) ใช้ใบอ่อน รับประทาน รสชาติคล้ายผักกาด

19.บัวแฉก(พืชป่ากินได้คล้ายบัวบก) ใช้ก้านใบ ใบ รับประทาน

20.มะขาม ใช้ใยอดอ่อน ฝัก รับประทาน

21.ส้มเกียบ(พืชป่ากินได้) ใช้ยอด ใบ รับประทาน

22.ชะพลู ใช้ใบ ยอด รับประทาน

24.ชะมวง (พืชป่ากินได้) ใช้ยอดอ่อน ใบ รับประทาน

25.ชะอม ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

26.กาหยู (มะม่วงหิมพานต์) ใช้ยอดอ่อน ช่อดอก ผล เมล็ด รับประทาน

27.แต้ว (พืชป่ากินได้) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

28.ผักกรูด(พืชป่ากินได้) ใช้ใบอ่อน รับประทาน

29.เม็ดชุน(พืชป่ากินได้) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

30.บุกเตียง(พืชป่ากินได้) ใช้ต้น รับประทาน

31.บุกบ้าน ใช้หัว ลำต้น รับประทาน

32.พริกไทย(พืชสวนครัว) ใช้ผลอ่อน รับประทาน

33.ตำลึง(พืชสวนครัว) ใช้ยอดอ่อน ใบ รับประทาน

34.ผักริ้น(พืชน้ำกินได้) ใช้ต้น ใบ รับประทาน

35.ช้องนาง(พืชน้ำกินได้) ใช้ต้น ใบ รับประทาน

36.ผักหนาม(พืชน้ำกินได้) ใช้ก้านใบ ใบ อ่อน รับประทาน

37.บอนนางกวัก(พืชน้ำกินได้)ใช้ก้านใบ ใบอ่อน รับประทาน

38.หญ้าถอดปล้อง(พืชน้ำกินได้) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

39.พริก(พืชสวนครัว) ใช้ผลรับประทาน

40.ตะไคร้(พืชสวนครัว) ใช้ต้น รับประทาน

42.ข่า(พืชสวนครัว) ใช้หน่อ หัว รับประทาน

43.โหระพา(พืชสวนครัว) ใช้ใบ ยอดอ่อน รับประทาน

44.โสน(พืชป่ากินได้) ใช้ยอด ดอก รับประทาน

45.มะเขือ(พืชสวนครัว) ใช้ผล รับประทาน

46.แตงกวา(พืชสวนครัว) ใช้ผล รับประทาน

47.ถั่วฝักยาว(พืชสวนครัว) ใช้ฝัก รับประทาน

48.ถั่วพลู (พืชสวนครัว) ใช้ฝัก รับประทาน

49.สาระแหน่(พืชสวนครัว) ใช้ใบ ยอด รับประทาน

50.ผักแพรว(พืชป่ากินได้ทางภาคอีสาน) ใช้ยอด ใบ รับประทาน

51.ใบย่านาง(พืชป่ากินได้ทางภาคอีสาน) ใช้ใบยอด รับประทาน

52.ผักบุ้ง(พืชสวนครัว) ใช้ลำต้น ใบ ยอด รับประทาน

53.ผักกาดนกเขา(พืชป่ากินได้) ใช้ใบ ยอดอ่อน รับประทาน

54.ผักลิ้นห่าน(พืชป่ากินได้ริมทะเล) ใช้ใบ ลำต้น รับประทาน

55.ผักแว่น (ใบบัวบกพืชป่ากินได้) ใช้ใบยอด รับประทาน

56.ผักเหนาะ(พืชสวนครัวคล้ายผักแว่น) ใช้ใบยอด รับประทาน

57.ผักกระเฉด(พืชน้ำกินได้) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

58.ผักชีล้อม(พืชน้ำกินได้) ใช้ยอดอ่อน ใบ รับประทาน

59.ราน้ำ(พืชน้ำกินได้) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

60.ต้นพุงปลา(พืชสวนครัว) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

61.มะสังข์ (พืชสวนครัว) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

62.มะแว้ง (พืชสวนครัว) ใช้ผล รับประทาน

64.มะอืก (พืชสวนครัว) ใช้ผล รับประทาน

65.ผักหวานบ้าน(พืชสวนครัว) ใช้ยอดอ่อน รับประทาน

66.ผักกาดกวางคุ้ง(พืชสวนครัวปลูกโดยใช้มุ้งน้อยจากป่าใหญ่) ใช้ก้านใบ ใบ ลำต้น รับประทาน

67.คะน้า(พืชสวนครัวปลูกโดยใช้มุ้งน้อยจากป่าใหญ่ ) ใช้ ก้านใบ ใบ ลำต้น รับประทาน

         พืชผักดังกล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้น สามารถนำมาปลูกเป็นผักไร้พิษข้างบ้านได้ โดยใช้มุ้งน้อยจากป่าใหญ่ ดินผสมสูตรใหม่และปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ หากท่านใดมีความสนใจที่จะปลูกให้เข้าไปดูได้ในเรื่อง
"มุ้งน้อยจากป่าใหญ่"ที่นั้นจะบอกรายละเอียดของการทำมุ้งน้อยจากป่าใหญ่ การทำดินผสมสูตรใหม่ และการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ปลูกผักไร้พิษโดยเฉพาะไว้อย่างละเอียดแล้ว

 

สร้างโดย: นายสำนวน  นิรัตติมานนท์



 

 

Tags : การปลูกผักไร้พิษข้างบ้านตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

view

ติดต่อเรา / Contact us

E-mail : Bailang@windows.com

Or http://bailang.igetweb.com

view