http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ต้นเหลียง
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 27/06/2011
ปรับปรุง 12/03/2021
สถิติผู้เข้าชม1,069,046
Page Views1,459,106
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
ข้อมูลต้นเหลียง
ผักปลอดสารพิษ
ผักพื้นบ้าน
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

ป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชน

ป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชน
 
บทความเชิงวิชาการ เรื่อง ผักป่าพื้นบ้านของชาวบ้านปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร (FOOD BANK OF PAKSONG 6. VILLEGE)
เอกสารประการบรรยาย เรื่อง ป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชน : วันที่ 26 พฤษภาคม 2542
นายพงศา ชูแนม
เจ้าพนักงานป่าไม้ 5
หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ
ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ปี 2537,
บุคคลดีเด่นด้านการอนุรักษ์ปี 2542
 
 
 
 
 

         หญิงวัยชรากลางคน กลุ่ม ๆ สี่ห้าคน สะพานถุงปุ๋ยเปล่า ๆ จากบ้านในตอนบ่ายแก่ ๆ ของวัน มุ่งหน้าสู่ชายป่าอันเป็นเนินเขาที่ทอดเอียงลงมาสู่หมู่บ้านราวบันไดภูเขาที่ทอดไมตรีรับสรรพสัตว์ผู้มาเยือนทั้งหลาย
ในมือทุกคนก็มีมีดพร้า (งอ) เล่มเล็ก ๆ พร้อมเสียงพูดคุยเบา ๆ สักพักผืนป่าไสสีเขียวจากที่คั่นไว้ก่อนถึงป่าแก่สีเขียวเข็ม ก็ได้กลืนกลายกลุ่ยคนดั่งกล่าวหายไป ยามโพล้เพล้ วันเดียวกันหลังจากกลุ่มหญิงวัยชรากลางคนถูกกลืนหายเข้าไปในป่า ก็เดินออกมาจากป่าที่ละคน ๆ ใบหน้ามีเหงื่อผุดพรายเสื้อแขนยาวสีทึม ๆ เปียกชื่นด้วยหยาดเหงื่อ บางคนแบกถุงปุ๋ย ที่ถูกยัดใส่ด้วยสิ่งของภายในจนเต็มแน่น บางคนเดินเทินถุงไว้บนศีรษะ มุ่งหน้าสู่บ้านเรือนทิ้งผืนป่าไว้เบื้องหลัง ผมเฝ้ามองมาวันแล้ววันเล่าจากกลุ่มแรก 4 - 5 คน ต่อมาเพิ่มจำนวนคน เพิ่มจำนวนกลุ่มและกระจายไปหลายพื้นที่มากขึ้น ๆ เป็นกิจวัตรประจำวันของชาวบ้านในท้องที่หมู่ 3 หมู 6 ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร เนื้อที่ทั้ง 2 หมู่บ้าน เป็นพื้นที่ทำกิน 12,161 ไร่ นอกจากนั้นเป็นป่าไสและป่าสมบูรณ์ (ป่าแก่) ผมเคยลองเดินตามพวกเขาเข้าไปในป่าด้วยความนึกนิยมในความรู้สึกที่ผู้คนเหล่านั้นผูกพันกับผืนป่ากว้าง เห็นชาวบ้านเหล่านั้นสอดสายตามองหาผักป่านานาชนิด ไม่ว่าจะพบเจออะไรก็หยิบฉวยเอามาใส่ถุงปุ๋ยราวหยิบของจากซุปเปอร์มาเก็ต คนนั้นโน้มลำต้นผักเหลียง (Gnetum genmon Linn.Var. Tenerum Markge) มาเด็ดยอด กำลังหลาวยอดและใบเพสลาด คนหนึ่งฉุดกระชากหน่อปุด (Achasmav mgealocheilos) สูงกว่าหัวอยู่ลั่นป่า เมื่อได้หลาย ๆ หน่อ ก็ตัดแล้วปอกเปลือกหนาสีเขียวออกเหลือแต่หยวกสีขาวบอบบางภายใน คนหนึ่งกำลังปีนป่ายเก็บลูกฉิ่ง (มะเดื่อ) (Ficus racemosa Vahl.) คนหนึ่งเดินตามริมห้วยเด็ดยอดผักหนามกานโต บางคนถอนต้นบอนส้ม หัวกรัก (Aqlaonema costatums) ผมเห็นการหยิบฉวยราวกับว่าป่าทั้งป่าหยิบฉวยมาใส่ถุงได้ทั้งสิ้น ไม่มีอาการแย่งชิง รีบร้อนหรือแข่งขัน เห็นแต่ความเอื้ออาทรต่อกันและกัน บางครั้งคนหนึ่งช่วยโน้มกิ่ง อีกคนคอยเด็ดยอดเก็บผล ไม่นานนักเมื่อทุกคนได้ผักป่าชนิด ต่าง ๆ จนเต็มถุงปุ๋ยแล้วก็รวบปากถุงหยาบ ๆ โยนใส่บ่าเดินออกจากป่ามาเหย้าเรือน ผมตามมาถึงหมู่บ้านผู้คนดังกล่าว หลังจากพักเหนื่อยแล้วทำภารกิจประจำวันที่บ้านทั้ง ในครัวและนอกบ้านแล้ว จึงเอาพืชผักป่าสมุนไพรต่าง ๆ ออกมาจากถุงอำการแยกชนิด ทำกอง ใช้ยางมัดเป็นกำเป็นกอง เป็นมัด มีขนาด จำนวน เรียบร้อยแล้วยัดใส่เข่งไม้ไผ่หรือตะกร้า พรมน้ำสะอาดให้พอเหมาะ บางครั้งนำไปตากน้ำค้างยามค่ำเพื่อรักษาความสดของผัก รุ่งเช้าแม่ค้าในหมู่บ้านจะมาคิดเงินแล้วก็เอาผักป่าเหล่านั้นรวมกับของรายอื่น ๆ เต็มคันรถปิคอัพ มุ่งหน้าสู่ตลาด วันแล้ววันเล่า เป็นการสร้างรายได้เสริมอย่างดีแก่ชุมชน ผมจึงลงมือทำการศึกษาการเก็บหาผักป่าพื้นบ้านและสมุนไพรของชาวบ้านด้วยความสนใจ
ผลการศึกษาการหาผักป่าพื้นบ้านและสมุนไพรของชาวปากทรง
1. พื้นที่ที่ศึกษา
         ทำการศึกษาใน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 3 และหมู่ 6 ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร โดยแยกกลุ่มบ้าน ได้แก่ หมู่ 6 ได้แก่ กลุ่มบ้านสะพาน 1, สะพาน 2, หลักเหล็ก, ห้วยน้ำเย็น, กิโล 6, หมู่ 6 ได้แก่
กลุ่มบ้านท่อสามแถว, ห้วยบอน, บกทือ, บกไฟ โดยมีพื้นที่ที่ชาวบ้านเข้าเก็บหาผักป่า ดังนี้
    1.1 พื้นที่สวนป่าของหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ เนื้อที่ 2,250 ไร่
    1.2 ป่าไสหรือไร่ร่างของเกษตรกรเองและป่าไสของสวนรวม เนื้อที่ 5,651 ไร่
    1.3 ป่าแก่ เนื้อที่ 17,500 ไร่
          รวม 25,401 ไร่

          เนื้อที่สวนป่าของหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ หมายถึง พื้นที่ที่ปลูกป่าในหมู่ 3 และหมู่ 6 ได้แก่ แปลงปลูกป่าปี 2533 (หลักเหล็ก) เนื้อที่ 400 ไร่ แปลงปลูกป่าปี 2535 (วังตาหมอ) เนื้อที่ 100 ไร่ แปลงปลูกป่าปี 2536 (ท่อสามแถว,กม.6) เนื้อที่ 600 ไร่ แปลงฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำปี 2539 (บกไฟ) เนื้อที่ 500 ไร่ แปลงฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำปี 2540 บกไฟ) เนื้อที่ 500 ไร่ แปลงฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำปี 2541 (ท่อสามแถว) เนื้อที่ 350 ไร่ แปลงปลูกหวายปี 2541 (กม.6) เนื้อที่ 100 ไร่
          รวม 2,250 ไร่

          ป่าไสหรือไร่ร้างที่เป็นของบุคคลหรือส่วนรวม คือ ป่าที่เคยถูกทำลายมาแล้วและทิ้งร้างไว้ อาจจะมีการแผ้วถางใหม่เพื่อทำการเกษตร หรือไว้ให้ฟื้นสภาพป่าเป็นป่าต้นน้ำลำธารเป็นของ หมู่ 3 จำนวน 1,537 ไร่ หมู่ 6 จำนวน 1,864 ไร่
          รวม 3,401 ไร่

         ป่าแก่ คือ ป่าสมบูรณ์ที่ไม่เคยแผ้วถางมาก่อน ต้องเป็นบริเวณที่อยู่ไม่ห่างไกลชาวบ้านมากนัก เพราะส่วนใหญ่ชาวบ้านจะไม่นิยมเก็บหาผักป่าในป่าสมบูรณ์ เพราะบริเวณผักป่าในป่าไสจะมีมากกว่าสมบูรณ์ ยกเว้นหน่อไม้ กลอย ลูกหวาย เหรียง ซึ่งเป็นป่าสมบูรณ์ของหมู่บ้าน กรณีศึกษาเฉพาะบริเวณที่ชาวบ้านเก็บหารผักป่าดังกล่าวเท่านั้น
ตารางแสดงรายได้ของกลุ่มตัวอย่าง เกิดจากอาชีพหลักและจากการเก็บหาผักป่า, ผักพื้นบ้าน (อาชีพรอง)
กำลังจัดทำข้อมูล

- การเก็บผักขายบางรายรวมทั้งผักพื้นบ้านที่ปลูกในสวน
- ข้อมูลปี 2542
- รายได้รองจากการเก็บผักป่า
- จากตารางแสดงถึงครอบครัวที่เก็บผักขายเป็นครอบครัวที่มีรายได้จากอาชีพหลักน้อย

2. กลุ่มผู้จัดหาพืชผักป่าพื้นบ้านและสมุนไพร ศึกษาจากครอบครัวที่เก็บหาผักป่าและสมุนไพร ตาราง 2 แสดงครอบครัวที่เก็บหาผักป่า (ได้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง)
กำลังจัดทำข้อมูล

         จากตารางนี้แสดงให้เห็นถึงการเก็บหาผักป่าและสมุนไพรของชาวบ้าน โดยมีการเก็บหาทุกครัวเรือน แต่ส่วนใหญ่เก็บหาเพื่อบริโภคในครัวเรือนโดยปกติ และมีกลุ่มหนึ่งที่ยึดเป็นอาชีพเสริมได้

3. วัตถุประสงค์ของการเก็บหาผักป่าและสมุนไพร
- เพื่อจำหน่าย
- เพื่อบริโภคในครัวเรือน
- เพื่อนำไปให้ญาติมิตรต่างถิ่น

4. ชนิดผักพื้นบ้านที่เก็บหาได้
- ผักเหลียง (Gnetum genmon Linn. Var. Tenerum Markge)
- เหรียง (Dialium spp.)
- กระทือ (Zingber zerumbet Smith)
- ข่า (Alpinia galango)
- ปุด หยวก, ผล (Achasma megalocheilos)
- หัวกรัก (Aglaonema costatum.)
- มะเดื่อ (ฉิ่งเดื่อปล้อง) (Ficus racemosa Vahl)
- ระกำ (Salacca rumphii)
- กุ่ม (Capa aceae)
- ผักหนาม (Lasia apinosa Thw)
- ผักกูด (Alhyrium esculentum Copel.)
- มะปริง (Bouca burmanica)
- สะตอป่า, ผล, ยอด (Parkia apeciosa hassk.)
- เพกา (Oroxyum indicum Vent.)
- ลูกเนียง(Achidendron Jinnga Nielse)
- บอนส้ม
- ใบชิง, กะพ้อ (Licuala peltata Roxb)
- หวาย (ผล)
- กลอย (Pioscorea hispeda dennst)
- เต่าร้าง (ต้น)
- ผักแว่น (Centelis asiatica Linn)
- พริกนก (Capsicum frutescens)
- กล้วยป่า (Musa sapientum Linn)
- ชาบุไหร
- หว้า หรือ หมัก (Eugenia cumini.)
- ชะม่วง (Garcinia Cowa. Roxb.)
- บอน, เผือก (ยอด,ไหล) (Colocasia esculenta)
- เถาคัน (Cissus repens lamk.)
- ส้มป่อย (Acacia comcinna (cwild) Dc.)
- หลุมพี (Zalacca conferta ariff.)
- บุก (ต้น ดอก หัว) (Amorphophallus campanulatus)
- มะไฟ (Baccaurea saplda.)
- ทำมัง (Litsfea petiolata Hook.F.)
- พาโหม (Pacderia linearis Hook.f.)
- หน่อไม้ (ไผ่เกรียบ, ไผ่หลัก, ไผ่เหลียง, ไผ่ผาก)
- ผักไห่ (Momordica Charanati Linn.)
- ลำเพ็ง (Stencchisera palustris (Burm.Bedd)
- กุ่มน้ำ(Cratvena mangea (Lour) Dr.)
- เห็ดต่าง ๆ เช่น เห็ดโคน, เห็ดแครง, เห็ดขาว, เห็ดหูหนู ฯลฯ)
- คอแลน (Nephelium hypoleucum Kurz.)
- เหรียง (Parkia timorana Merr. Millettia atropurpurea Benth.)

5. ปริมาณผักป่าและสมุนไพรที่เก็บหาจากป่าได้จากการศึกษาและคำนวณในปีที่ผ่านมา (2541)
ปริมาณที่เก็บหาขึ้นอยู่กับความนิยมของตลาดและนิยมบริโภค อันได้แก่
ตาราง 3 แสดงรายได้ของกลุ่มตัวอย่างจากพืชผักชนิดต่าง ๆ จำนวน 37 ครัวเรือน

กำลังจัดทำข้อมูล

6. วิธีเก็บหาและวันเวลาที่เก็บหา
ผู้เก็บหารจะเดินเก็บโดยมีเป้าหมายชัดเจน โดยจากการสังเกตจากฤดูกาลและตำแหน่งที่อยู่ของพันธุ์พืช ตำแหน่งที่อยู่ของแต่ละต้นผู้เก็บหาจะจดจำได้อย่างดี เช่น ผักหนามอยู่ริมน้ำ,
ริมห้วย, ป่าพรุ, ผักเหลียงอยู่บริเวณเนินเขา ระยะทางในการเดินเพื่อเก็บแต่ละครั้งต้องเดินเท้าประมาณ 3 กม. ในการเก็บหาจะไม่ทำอันตรายแก่ต้นไม้จนถึงกับเป็นอันตราย แต่งมีการตัดแต่งเพื่อสะดวกแก่การเก็บและกระตุ้นต่อการออกยอดอ่อน

7. วิธีการจำน่ายและสถานที่จำน่าย
1. รวมรวบและจำหน่ายให้แม่ค้าในหมู่บ้านโดยการทำเป็นกำ, กอง, มัด, ถุง ตามความนิยมแก่พืชผักแต่ละชนิด เช่น เป็นกำได้แก่ ผักเหลียง กำละ 1 - 5 บาท แล้วแต่ฤดูกาลซึ่งผักเหลียงเป็นป่าที่ราคาและความนิยมสูงสุด เป็นมัดได้แก่ ผักหนาม ผักกูด บอนส้ม โดยแม่ค้าจะรวมแล้วนำไปจำหน่ายในตัวเมืองอีกทอดหนึ่ง
2. นำไปจำหน่ายเองในกรณีที่เก็บหาทั้งครอบครัวและรวมกับผักพื้นบ้านที่ปลูกในสวน เช่น ชะอม, ตะไคร้, มะเขือ, ออดิบ ฯลฯ

8. การพัฒนาการ
- ชาวบ้านเริ่มนำพันธุ์ผักป่าชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะผักเหลียง กระทือ มาปลูกในพื้นที่เกษตรของตนมากขึ้น เพราะสามารถเก็บหาโดยไม่ต้องเกรงว่ามีใครอื่นมาเก็บไปก่อน
- การรวมกลุ่มจำหน่ายและการตั้งจุดรับซื้อในชุมชน


9. ผลดีของการเก็บหาผักป่าและสมุนไพร
- ทำให้เกิดอาชีพใหม่และรายได้เสริมแก่ครัวเรือน
- ทำให้เกิดการเรียนรู้ถึงชนิดพืชพรรณผักป่าพื้นบ้าน และเป็นการรักษาภูมิปัญญาชาวบ้านไว้
- ทำให้เกิดการดูแลรักษาพื้นที่ป่าดังกล่าวให้คงสภาพเดิม
- พัฒนากระบวนการกลุ่มองค์กรชาวบ้าน
- เกิดแหล่งอาหารชุมชนหรือธนาคารอาหาร (FOOD BANK) ในชุมชน
- ประชาชนได้บริโภคผักปลอดสารพิษและเป็นสมุนไพร เพราะผักป่าแต่ละชนิดเป็นทั้งผักและยา
- ลดการดักแร้วหรือการดักสัตว์เพราะเกรงอันตรายจะเกิดกับผู้เก็บหาผักป่า

10. ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้เก็บหาพืชผักพื้นบ้านมีความต้องการให้มีการพัฒนาการ ดังนี้
1. ควรปลูกเสริมพันธุ์พืชบางชนิด เช่น ผักเหลียง, กลอย, พริกไทย, ดีปลีดอกพลู ในพื้นที่ป่า
2. ควรห้ามไม่ให้บุคคลภายนอกหมู่บ้านหรือต่างถิ่นมาเก็บหาเพื่อจำหน่าย
3. ควรห้ามมิให้มีการขุด หรือถอนต้นพันธุ์จากป่าไปขาย ควรจะใช้วิธีการเก็บเมล็ด ตอนกิ่ง ฯลฯ
4. ควรทำขอบเขตพื้นที่ และการให้เก็บรักษาสภาพป่าไสไว้มิให้มีการบุกรุกทำลาย เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่เกษตรแผนใหม่
5. ป่าไสที่รกร้างบางครั้งมีเจ้าของอาจจะมีการซื้อขายให้นายทุน และถูกแปรสภาพเห็นพื้นที่เกษตรแผนใหม่
6. การพัฒนาการเก็บหาของป่าผสมกับการปลูกผักพื้นบ้านในพื้นที่เกษตร
7. ควรนำผักป่ามาปลูกในพื้นที่ทำกิน
8. ควรทำการศึกษาคุณสมบัติทางโภชนาการและเภสัชของพืชผักป่า
9. การพัฒนาระบบกลุ่มผู้ขายผู้ซื้อให้เกิดความยุติธรรมในด้านราคา
10. ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน
11. ส่งเสริมให้เกิดการเก็บหาผักป่าอนุรักษ์พื้นที่ในลักษณะ FOOD BANK อย่างจริงจัง โดยราชการและองค์กรท้องถิ่น
12. ควรให้การศึกษาแก่เยาวชนที่อยู่ใกล้ป่าหรือตามโรงเรียนใกล้ป่า

11. ข้อสังเกตจากการศึกษา
1. พบว่ามีการเก็บผลของผักเหลียงไปจำหน่ายด้วย อาจจะทำให้การขายขยายพันธุ์ตามธรรมชาติลดลง
2. ป่าไสถูกแปรสภาพเป็นพื้นที่เกษตรแบบใหม่
3. การรับซื้อของแม่ค้าในชุมชนเอากำไรเกินควร เช่น ซื้อผักเหลียงกำละบาท นำไปขาย 2 กำ 5 บาท หรือบางครั้งนำไปแยกเป็นกำเล็ก ๆ ขายกำละ 2 - 3 บาท ผู้เก็บหารผักป่ามิอาจนำไปขายเองในตลาดเพราะต้องสูญเสียเงินไปกับค่าการเดินทาง
 
         ผลจากการศึกษาเบื้องต้น ทำให้ผมอดภาคภูมิใจในอาชีพใหม่ของชาวบ้านที่นี่มิได้ เพราะนอกจากเป็นการอนุรักษ์สภาพป่าไว้แล้วยังเป็นการสร้างความผูกพันของคนกับป่าเข้าด้วยกันอย่างสวยงามเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่จะบอกกล่าวว่า ป่าให้ประโยชน์อันใดแก่ชุมชน โดยเฉพาะย่างยิ่งยามที่เศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ ชุมชนมีแหล่งอาหารแหล่งสุดท้ายที่พึ่งพา






หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ
Phato
Watershed Conservation and Management Unit
132 ม.6 ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร
86180 โทร. 077-520055
อีเมล์: info@phatotonnam.com
 
 
 

Tags : ป่าพื้นบ้าน อาหารชุมชน

 
ติดต่อเรา / Contact us E-mail : Bailang@windows.com Or http://bailang.igetweb.com
view