http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 ต้นเหลียง

สถิติ

เปิดเว็บ27/06/2011
อัพเดท12/03/2021
ผู้เข้าชม1,068,432
เปิดเพจ1,458,450

ข้อมูลต้นเหลียง

กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดคลอโรฟิลล์ด้วยเอทานอลจากผักเหมียง

พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้

ข้อมูลของหนังสือผักเหลียง

ผักเหลียงชุมพร

ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้

ปลูกต้นไม้ ๘๔ ชนิด เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ปลูกผักเหมียงในสวนยาง รายได้ง่าย ๆ

โครงการส่งเสริมอาชีพเสริมและเงินหมุนเวียน

การปลูกผักเหลียง

การศึกษาทางสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของผักเหมียง

ปลูกผักเหลียงเป็นพืชแซมสะตอ

เส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นทางที่ 1 ชมธรรมชาติรอบๆป่าวัดสวนวางระยะทาง 500 - 600 เมตร

การปลูก”ผักเหมียง(เหลียง)”ร่วมกับต้นยางพารา

ปลูกผักเหมียงแซมยาง เสริมรายได้

ต้นไม้พื้นบ้านทางใต้ ที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และน่าจะปลูกได้ทุกที่

การปลูกผักเหลียงในสวนยาง

ปลูกผักเหลียงในภาคเหนือ

Cara mencegah penuaan dini atasi pakai daun MELINJO !!

ผักปลอดสารพิษ

ผักพื้นบ้าน

iGetWeb.com
AdsOne.com

ผักพื้นบ้านสารต้านสนิมหลอดเลือด

ผักพื้นบ้านสารต้านสนิมหลอดเลือด

 

ผักพื้นบ้านสารต้านสนิมหลอดเลือด 



ประเภท                  สุขภาพ

ผู้แต่ง                     สุภาพร   สมหวัง

หน่วยงาน              คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ               โรคเรื้อรัง  ผักพื้นบ้าน อนุมูลอิสระ


           ปัจจุบันคนไทยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการบริโภคอาหารประเภทน้ำตาลและไขมันมากเกินไป แต่กลับบริโภคอาหารจำพวกผักผลไม้น้อยลงโดยเฉพาะผักพื้นบ้านที่อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ต่างๆกลับถูกลดความสำคัญลง ปัจจุบันคนไทยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆมากขึ้น  เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น ด้วยเหตุที่คนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคที่เลียนแบบต่างประเทศมากขึ้น คือการทานอาหารจำพวกน้ำตาลและไขมันมาก ทานผัก ผลไม้น้อยจึงทำให้คนไทยมีอัตราการเกิดโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในผัก ผลไม้มีสารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่ต่างๆที่เป็นสารช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการเกิดโรคต่างๆได้  พืชผักของไทยมีอยู่หลากหลายชนิดโดยเฉพาะผักพื้นบ้านที่อยู่ในแต่ละท้องถิ่นนอกจากจะอุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ผักพื้นบ้านบางชนิดยังมีสรรพคุณทางยาช่วยในการรักษาโรคได้

          ผักพื้นบ้าน หมายถึง พรรณพืชผักพื้นบ้าน หรือพรรณไม้พื้นเมืองในท้องถิ่นที่ชาวบ้านนำมาบริโภคเป็นผักตามวัฒนธรรมการบริโภค พรรณพืชผักพื้นบ้านหรือพรรณไม้พื้นเมืองในท้องถิ่นที่ชาวบ้านนำมาบริโภคเป็นผักตามวัฒนธรรมการบริโภคของท้องถิ่นในแหล่งธรรมชาติ (ป่าเขา ป่าละเมาะ ป่าแพะ หนองบึง ริมแม่น้ำ และธารน้ำ) สวนไร่นา หรือชาวบ้านนำมาปลูกไว้ใกล้บ้าน เพื่อสะดวกในการเก็บบริโภค ผักพื้นบ้านต่างๆมักมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นและนำไปประกอบอาหารพื้นเมืองตามกรรมวิธีเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งอาหารประจำท้องถิ่นหลากหลายชนิดที่มีผักเป็นส่วนประกอบหลักเช่น แกงเลียง แกงส้มของชาวภาคกลาง แกงอ่อม แกงส้มของชาวอีสาน แกงแค แกงผักพื้นเมืองต่างๆของชาวเหนือ หรือแกงไตปลา และแกงส้มของชาวใต้นอกจากนี้พรรณไม้พื้นบ้านเหล่านี้ยังถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านยารักษาโรคด้วย 

  

  

คุณค่าของผักพื้นบ้าน


ผักที่มีวิตามินซีสูง                                      ปริมาณวิตามินซี(กรัม)ในผักพื้นบ้านจำนวน  100 กรัม

  ผักหวาน                                                                                   168           

  ใบยอ                                                                                       41

  ผักแพรว                                                                                   115

  ผักติ้ว                                                                                       67

  

ผักที่มีวิตามินเอสูง                                       ปริมาณวิตามินเอ(หน่วยสากล)ของผักพื้นบ้าน ๑๐๐ กรัม

  ใบย่านาง                                                                                  30,625

  ผักกูด                                                                                      17,167

  ผักชีลาว                                                                                   13,055

  ใบชะพลู                                                                                   12,250

  

ผักที่มีแบต้าแคโรทีนสูง                          ปริมาณวิตามินเบต้า-แคโรทีน(ไมโครกรัม) ของผักพื้นบ้าน ๑๐๐ กรัม

 

   ใบกะเพรา                                                                                 7,867

   ใบขี้เหล็ก                                                                                 7,181

   ผักเชียงดา                                                                                5,905

   ผักกะเฉด                                                                                  3,710

  

           นอกจากนี้ในผักพื้นบ้านยังพบสารที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไขมันในเส้นเลือดสูงความดันเลือดสูง โรคหัวใจ  ดังนี้

 


               สารที่พบ                                                                          ผักพื้นบ้าน                                                                รักษาโรค               

โปรแอนโธร์ไซยานิดิน(สารต้านอนุมูลอิสระ)                               ผักที่มีรสฝาด เช่น มะกอก  ผักติ้ว                             ความดันสูง โรคหัวใจไขมันในเลือดสูง

  

ไบโอฟลาโวนอยด์,เคอร์ซิทิน(สารต้านอนุมูลอิสระคู่กับวิตามินซี)     ผักใบเขียวเข้ม แดงเข้มทุกชนิด เช่น ขี้เหล็ก ใบยอ       ไขมันในเลือดสูง

 

แอลลิซิน                                                                            กระเทียม                                                             ลดไขมัน

  

โรคหลอดเลือดแดงแข็งจากสารอนุมูลอิสระ 


การที่หลอดเลือดแดงตีบและแข็งเนื่องจากการฝังตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งการไวต่อการเกิดปฏิกริยาของไขมันนั้นก็มาจากการกระทำของสารอนุมูลอิสระ ที่มีอยู่ในร่างกายของเรา

สารอนุมูลอิสระมีแหล่งที่มาจาก

  1. อาหารที่มีกลิ่นเหม็นหืน เกิดจากกรดไขมันถูกออกซิไดซ์ ซึ่งจะให้สารของกลิ่นหืน และสารอนุมูลอิสระ
  2. จากปฏิกิริยาลูกโซ่ของปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของกรดไขมันตั้งต้นจากสารอนุมูลอิสระ 1 ตัว
  3. ในระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ตามธรรมชาติ สารอนุมูลอิสระเป็นสารที่ร่างกายต้องเกี่ยวข้องตามระบบธรรมชาติที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในทางลบแก่ร่างกายได้ แต่สามารถปรับสมดุลได้โดยการรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ(สารต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น)ซึ่งพบในพืชผัก ผลไม้

          โดยสารต้านอนุมูลอิสระทำหน้าที่ป้องกันการเกิดหรือการสร้างสารอนุมูลอิสระ กำจัดสาร อนุมูลอิสระก่อนเข้าทำลายไขมัน โปรตีน หรือกรดนิวคลีอิคของเซลล์ ทำการซ่อมแซมสิ่งที่ถูกทำลายจากปฏิกริยาออกซิเดชั่น ขจัดโมเลกุลที่ถูกทำลาย  

 


ผักพื้นบ้านต่อการต้านสารอนุมูลอิสระ

ความสามารถในการต้านสารอนุมูลอิสระของผักพื้นบ้านไทย

สูง                                                                     ปานกลาง                                                            ต่ำ

มีปริมาณสารต้านอนุมูอิสระ                          มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ                                 มีปริมาสารต้านอนุมูลอิสระ

>2% ของน้ำหนักผักแห้ง                            0.36-2 % ของน้ำหนักผักแห้ง                              < 0.36 % ของน้ำหนักผักแห้ง

 

ฝอยทองผักหนาม ผักแปม                          ผักพาย (ตาลปัตรฤาษี) ผักโขมใหญ่                        ผักเผ็ด (ผักคราด) ผักแส้ว ดอกแค หางค่าง

ผักฮ้วนยอดมะม่วง ฝักกระถิ่น                       ผักโขมไทย ดอกโสน ถั่วฝักยาว ผักไผ่ (ผักแพว)       ใบย่านาง งิ้ว ผักโขมเล็ก กระบก ดีปลี บวบงู

ยอดกระถินผักเม็ก ยอดถั่วลันเตา                  ฝักมะลิดไม้ (เพกา) หอมแย้ผักขี้หูด ยอดผักปลัง        ผักหวานป่า ใบกะเพรา ใบโหระพา ดอกผักชีฝรั่ง

ผักบุ้งไทยผักกาดนกเขา ยอดมะปริง              ดอกผักปลัง ผักเสี้ยว ผักเกี๋ยงพาผักคาวทอง             หัวปลี ผักกูด คูน ยอดมะระจีน จะค่าน ผักแมะ เผือกหอม

ตะไคร้ลูกเนียง ยอดมันเทศ ยอดทำมัง            (พลูคาว) ผักเฮือด ขนุนอ่อนผักเซียงดา ผักเสี้ยน       ยอดมะขาม ลูกเถาคัน ยอดฟักทอง เห็นมัน

ยอดเหมียง(เหลียง) ยอดหมุย ยอดมันปู          มะแขว่น ผักอีหล่ำ (มะกล่ำตาช้าง)ผักขะแยง             เห็ดตับเต่า เห็ดลม ต้าง มะข่วน กำบิด

ขี้เสียดผักปู่ย่า (ช้าเลือด) ยอดมะปราง            ถั่วแปบ สะแล ผักเหมือดผักกระเผ้กขี้ขวง                  เห็นขอนขาว เห็ดเผาะ ลูกเนียงนก ปูเลย

ใบมะเม้าบัวเผื่อน ยอดมันแกวเขียว                (สะเดาดิน) ผักติ้ว ใบชะพลูใบบัวบก ใบยอ                (ไพล) เห็ดแครง ลูกแฟบ หัวแส้ เห็ดปลวก เห็ดโคน

                                                            ผักบุ้งจีนผักชีฝรั่ง ผักชีลาว ยอดสะเดา (ดอก)

                                                            ใบขี้เหล็ก ใบแมงลัก ยอดพริก ใบชะอม พริกไทยอ่อน

                                                            ผักชี ตั้งโอ๋ ยอดเล็บครุฑ บอน ใบชะมวง ลูกเหรียง

                                                            ถั่วพูฝักมะรุม ใบยี่หร่า(กะเพราช้าง) ผักคะน้า บวบ

                                                            ใบตำลึง สะตอ ส้มเม่า ผักชีล้อม ผักชีไร่ (ผักแย้)

                                                            ผักริ้น ถั่วลาย ยอดมะกอก ไทย ยอดเทียม

                                                            ดอกขี้เหล็ก แตงโมอ่อน ผักหนอก ต้นกระชาย

                                                            ดอกกระเจียวแดง ผักกระสัง ขมิ้นชัน กุยซ่าวขาว

                                                            กุยช่าย ดอกแคบ้าน ผักหวานบ้าน เล็บรอก ดอกสัง

                                                            มะเขือตอแหล มะเขือเปราะม่วง ผักก้านตง ผักแว่น

                                                           ใบปอ ลูกมะแว้ง ต้นข่าอ่อน ดอกข่า ใบสะเดาอ่อน

                                                            ดอกผักเซียงดา กี๋กุ๊ก พ่อค้าตีเมีย



ส่งท้าย 

          ดังนั้น พืชผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นล้วนอุดมไปด้วยประโยชน์ ต่อสุขภาพนานัปการ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องเสียเวลาในการซื้อหา การที่เลือกบริโภคผักพื้นบ้านก็ควรเลือกรับประทานให้หลากหลายเพื่อได้สารอาหารที่ครบถ้วน และนอกจากที่เราจะมีสุขภาพที่แข็งแรง การที่เราหันมาให้ความสนใจบริโภคผักพื้นบ้านมากขึ้นยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ในสภาวะที่เศรษฐกิจย่ำแย่ได้อีกทางหนึ่ง



เอกสารอ้างอิง 

 

  1. www.anamai.moph.go.th
  2. www.ku.ac.th



  

Tags : ผักพื้นบ้านสารต้านสนิมหลอดเลือด

view

ติดต่อเรา / Contact us

E-mail : Bailang@windows.com

Or http://bailang.igetweb.com

view