http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ต้นเหลียง
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 27/06/2011
ปรับปรุง 12/03/2021
สถิติผู้เข้าชม1,068,936
Page Views1,458,993
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
ข้อมูลต้นเหลียง
ผักปลอดสารพิษ
ผักพื้นบ้าน
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

เส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นทางที่ 1 ชมธรรมชาติรอบๆป่าวัดสวนวางระยะทาง 500 - 600 เมตร

เส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นทางที่ 1 ชมธรรมชาติรอบๆป่าวัดสวนวางระยะทาง 500 - 600 เมตร

เส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นทางที่ 1  

ชมธรรมชาติรอบๆป่าวัดสวนวางระยะทาง 500 - 600 เมตร

 

จุดชมที่  1   (ไม้ยาง)ไม้ใช้ประโยชน์และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ                  

                    ไม้ยางเป็น  ไม้ต้นขนาดใหญ่  สูงถึง 40 - 50  เมตร   ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาเรียบ  สีเทาหรือเทาปนขาว   โคนต้นมักเป็นพูสูงขึ้นมาเล็กน้อย  ไม้ต้นขนาดใหญ่  สูงถึง 40 -  50  เมตร  ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาเรียบ   สีเทาหรือเทาปนขาว  โคนต้นมักเป็นพูสูงขึ้นมาเล็กน้อย   พบขึ้นในที่ลุ่มต่ำริมห้วย ลำธาร  และตามหุบเขาทั่วทุกภาคของประเทศไทยในระดับความสูงของน้ำทะเลเฉลี่ยคือ 350  เมตรนอกจากจะใช้ประโยชน์ในทางก่อสร้างแล้ว   ไม้ยางยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรอีกด้วย

จุดชมที่  2    (ผักเหมียง)  สวนผักกลางไพร

                    ผักและผลไม้ป่าที่กินได้ทั่วทุกภาคของเมืองไทยมีพืชท้องถิ่นที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ   ให้เราได้เก็บมากินเป็นอาหารได้ และ  ภูมิปัญญาคนท้องถิ่นก็สามารถเลือกมาปรุงเป็นอาหารที่เหมาะสมได้  ดังเช่นในป่าแห่งนี้มี    ผักเหมียง   พันธุ์ไม้ป่า ที่เจริญเติบโตได้ดีภายใต้ร่มเงาของต้นไม้  พบได้ทั้งบริเวณเนินเขาและที่ราบในความสูงจากระดับน้ำทะเล 2 – 500 เมตร  หรือสูงกว่านั้น ผักเหมียงพบมากในภาคใต้ตอนกลางฝั่งตะวันตกของประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่  เช่น จังหวัดพังงา ระนอง กระบี่ ตรัง (ฝั่งอันดามัน) ชุมพร (ฝั่งอ่าวไทย) เป็นต้น  จะสังเกตเห็นว่าผักเหมียงขึ้นเองตามธรรมชาติ  หรือมีการปลูกแถบจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันตกมากกว่าฝั่งตะวันออก  อาจเป็นเพราะปริมาณน้ำฝนชุกและต่อเนื่องในฝั่งตะวันตกจึงเหมาะสมกว่า   ผักเหมียง   คนใต้นิยมนำมากินเป็นผักเคียงกับขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้  อาหารที่ได้รับความนิยมที่ประกอบจากผักเหลียง คือ  ผักเหลียงต้มกะทิหรือแกงเลียง   ผักเหมียงได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้”

จุดชมที่  3    (ไม้ขาวดำ)   ไม้หายาก

                 ไม้ขาวดำเป็นไม้ยืนต้น   เนื้อแข็ง  แต่เนื้อไม้มีลักษณะพิเศษ  คือ   จะมีสีขาวและสีดำในต้นเดียวกัน   ชาวบ้านนิยมนำมาทำกรุงนก   ไม้ชนิดนี้พบในภาคใต้และจัดเป็นไม้หายากอีกชนิดหนึ่ง

จุดชมที่  4    (หวาย )  พืชสารพัดประโยชน์

                “หวาย”   จัดเป็นพืชตระกูลปาล์ม  ที่ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน   เป็นหนึ่งในบรรดาทรัพยากรพันธุ์พืชนับหมื่นชนิด  จัดเป็นประเภทพืชหายากหรือใกล้สูญพันธุ์ ในประเทศไทยพบว่า มีหวายมากถึง 6 สกุล  คิดเป็นครึ่งหนึ่งของสกุลหวายที่มีอยู่ในโลกและมีมากกว่า 60 ชนิด  แพร่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคใต้มีหลากหลายมากกว่าทุกภาค  หวายมีคุณประโยชน์หลากหลายบางชนิดสามารถนำมาบริโภคได้  บางชนิดนำมาจักสานเป็นของใช้ตามวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ   ลูกหวายมีรสอมเปรี้ยวอมหวาน  เป็นอาหารของสัตว์ป่า    แล้วคนกินลูกหวายได้มั๊ย  ?????     

จุดชมที่  5   (ไม้แต้ว)                               

                  เต็งแต้วแก้วกาหลง  บานบุษบงส่งกลิ่นอาย  หอมอยู่ไม่รู้หาย  คล้ายกลิ่นผ้าเจ้าตราตรู ไม้แต้ว   เป็นไม้ต้นผลัดใบสูงประมาณ ๒๕ เมตร ทรงต้นโปร่ง เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้ม  ล่อนเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ใบออกตรงข้ามเป็นคู่  รูปขอบขนาน บางดอกมีกลิ่มหอมอ่อน  ๆ ดอกเป็นกระจุกเล็ก ๆ หรือเป็นช่อสั้น ๆ ช่อละประมาณ ๕ ดอก  ออกตามกิ่งตรงโคนใบที่ร่วงไปแล้ว กลีบรองดอกสีเขียวมี ๕ กลีบ กลีบดอกสีชมพูอ่อนมี  ๕ กลีบ ปลายกลีบมีครุยเป็นฝอยยาว ๆ ผลรูปไข่ยาวประมาณ ๑ - ๕ เซนติเมตร  เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น ๓ แฉก เมล็ดขนาดเล็กมีปีกออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน  พบตามป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป ขณะที่แตกใบอ่อนใบจะเป็นสีแดง  ขยายพันธ์ด้วยการเพาะเมล็ด

จุดชมที่  6   (สัตว์)  สัตว์ป่าประจำถิ่น            

                  สัตว์ป่า คือ สัตว์ทุกชนิดไม่ว่า สัตว์บก สัตว์น้ำ  สัตว์ปีก แมลง หรือแมง  ซึ่งโดยภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำและให้หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย  สัตว์ป่าเห็นตัวช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ สัตว์ป่าอำนวยประโยชน์นานาประการให้แก่มนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติอื่น  ๆ มากมาย อย่างไรก็ตามประโยชน์     ส่วนใหญ่เป็นไปในทางอ้อมมากกว่าทางตรงจึงทำให้มองไม่ค่อยเห็นคุณค่าของสัตว์ป่าเท่าที่ควร  เมื่อเทียบกับทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ

จุดชมที่  7 (ยาสมุนไพร)   ภูมิปัญญาไทยกับสมุนไพรท้องถิ่น           

                  สมุนไพร  คือ ผลไม้ ผัก พืช เครื่องเทศ สัตว์  ที่มีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคที่พบได้ตามธรรมชาติ โดยสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ เช่น  ราก ผล ใบ ลำต้น ดอก เปลือกหรืออื่น ๆ ไปรับประทานได้หรือแปรรูปเป็นยาได้  สมุนไพรไทย   คนไทยเราเมื่อสมัยก่อนมีการเรียนรู้การใช้สมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆ  ในหมู่บ้านกันสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน  และถือว่าเป้นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษสั่งสมเอาไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาความรู้และนำไปใช้ประโยชน

 

 

ที่มา http://www.maenangkhaow.com/

Tags : 5 Station Mae Nang Kaew Nature Trail

 
ติดต่อเรา / Contact us E-mail : Bailang@windows.com Or http://bailang.igetweb.com
view