http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 ต้นเหลียง

สถิติ

เปิดเว็บ27/06/2011
อัพเดท12/03/2021
ผู้เข้าชม1,067,551
เปิดเพจ1,457,427

ข้อมูลต้นเหลียง

กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดคลอโรฟิลล์ด้วยเอทานอลจากผักเหมียง

พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้

ข้อมูลของหนังสือผักเหลียง

ผักเหลียงชุมพร

ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้

ปลูกต้นไม้ ๘๔ ชนิด เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ปลูกผักเหมียงในสวนยาง รายได้ง่าย ๆ

โครงการส่งเสริมอาชีพเสริมและเงินหมุนเวียน

การปลูกผักเหลียง

การศึกษาทางสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของผักเหมียง

ปลูกผักเหลียงเป็นพืชแซมสะตอ

เส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นทางที่ 1 ชมธรรมชาติรอบๆป่าวัดสวนวางระยะทาง 500 - 600 เมตร

การปลูก”ผักเหมียง(เหลียง)”ร่วมกับต้นยางพารา

ปลูกผักเหมียงแซมยาง เสริมรายได้

ต้นไม้พื้นบ้านทางใต้ ที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และน่าจะปลูกได้ทุกที่

การปลูกผักเหลียงในสวนยาง

ปลูกผักเหลียงในภาคเหนือ

Cara mencegah penuaan dini atasi pakai daun MELINJO !!

ผักปลอดสารพิษ

ผักพื้นบ้าน

iGetWeb.com
AdsOne.com

พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้

พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้

ข้อมูลพรรณไม้

 
เหลียง
 Gnetum gnemon Linn. var. tenerum Markgr

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gnetum gnemon Linn. var. tenerum Markgr.

ชื่อวงศ์ : Gnetaceae

ชื่อสามัญ : Baegu

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ :

ต้น : เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 – 5 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 20 เซนติเมตร เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อนสามารถโน้มลงได้โดยลำต้นไม้หัก ผิวเปลือกเรียบ เปลือกอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ใบ : มีลักษณะคล้ายยางพารา ใบออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีปลายใบเรียวแหลม มีขนาด กว้าง 4 – 10 เซนติเมตร ยาว 10 – 20 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร เนื้อใบบางแต่เหนียวคล้ายแผ่นหนัง ใบมีสีเขียวเป็นมัน แต่หากต้นอยู่ในที่โล่งสีของใบจะจางลงหรืออาจขาวทั้งหมด ยอดใบอ่อนมีรสชาติหวานมัน รับประทานได้ทั้งดิบและสุก

ดอก : มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะออกต่างต้นกัน กล่าวคือหากต้นใดมีดอกตัวผู้จะไม่มีดอกตัวเมีย ดอกตัวผู้เป็นดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อตาม ข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร ในแต่ละช่อมีปุ่มดอกขนาดเล็กเรียงกันเป็น ข้อๆ ประมาณ 5 – 8 ข้อ กลีบดอกมีสีขาว ดอกตัวเมียเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีขนาดของดอก ใหญ่กว่าดอกตัวผู้ ดอกออกเป็นช่อตามข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร ใน แต่ละช่อมีปุ่มดอกเรียงเป็นข้อๆ ประมาณ 7 – 10 ข้อ ทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย

ผล : มีลักษณะเป็นรูปกระสวย เปลือกกว้างประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร มีความยาว ประมาณ 2.5 – 4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลือกและเนื้อจะมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน

การใช้ประโยชน์ :

- ใบ มีสรรพคุณในการบำรุงเส้นเอ็น กระดูก สายตา ใช้รับประทานสดและประกอบเป็นอาหาร เช่น แกงเลียง ต้มกะทิ ใช้ห่อเมี่ยงคำ ผัดวุ้นเส้น แกงไตปลา และผัดผัก ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย นิยมนำเนื้อในเมล็ดของผักเหมียงมาทำข้าวเกรียบ

ความสำคัญ และที่มาของโครงการ

       พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้ นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นแหล่งพันธุกรรมของพืชที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อวงการเกษตรในอนาคต รวมทั้งมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของประชากรในท้องถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรกรรม มีผลให้พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จึงควรมีมาตรการในการอนุรักษ์ พันธุ์พืชที่สำคัญดังกล่าวอย่างยั่งยืนนั่นคือการทำให้ประชาชนรู้จัก เห็นคุณค่าและประโยชน์ พร้อมทั้ง มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา

ขอบคุณขอมูลจาก http://www.natres.psu.ac.th

Tags : พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้

view

ติดต่อเรา / Contact us

E-mail : Bailang@windows.com

Or http://bailang.igetweb.com

view