http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ต้นเหลียง
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 27/06/2011
ปรับปรุง 12/03/2021
สถิติผู้เข้าชม1,069,134
Page Views1,459,195
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
ข้อมูลต้นเหลียง
ผักปลอดสารพิษ
ผักพื้นบ้าน
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้

พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้

ข้อมูลพรรณไม้

 
เหลียง
 Gnetum gnemon Linn. var. tenerum Markgr

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gnetum gnemon Linn. var. tenerum Markgr.

ชื่อวงศ์ : Gnetaceae

ชื่อสามัญ : Baegu

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ :

ต้น : เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 – 5 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 20 เซนติเมตร เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อนสามารถโน้มลงได้โดยลำต้นไม้หัก ผิวเปลือกเรียบ เปลือกอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ใบ : มีลักษณะคล้ายยางพารา ใบออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีปลายใบเรียวแหลม มีขนาด กว้าง 4 – 10 เซนติเมตร ยาว 10 – 20 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร เนื้อใบบางแต่เหนียวคล้ายแผ่นหนัง ใบมีสีเขียวเป็นมัน แต่หากต้นอยู่ในที่โล่งสีของใบจะจางลงหรืออาจขาวทั้งหมด ยอดใบอ่อนมีรสชาติหวานมัน รับประทานได้ทั้งดิบและสุก

ดอก : มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะออกต่างต้นกัน กล่าวคือหากต้นใดมีดอกตัวผู้จะไม่มีดอกตัวเมีย ดอกตัวผู้เป็นดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อตาม ข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 3 – 4 เซนติเมตร ในแต่ละช่อมีปุ่มดอกขนาดเล็กเรียงกันเป็น ข้อๆ ประมาณ 5 – 8 ข้อ กลีบดอกมีสีขาว ดอกตัวเมียเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีขนาดของดอก ใหญ่กว่าดอกตัวผู้ ดอกออกเป็นช่อตามข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร ใน แต่ละช่อมีปุ่มดอกเรียงเป็นข้อๆ ประมาณ 7 – 10 ข้อ ทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย

ผล : มีลักษณะเป็นรูปกระสวย เปลือกกว้างประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร มีความยาว ประมาณ 2.5 – 4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลือกและเนื้อจะมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน

การใช้ประโยชน์ :

- ใบ มีสรรพคุณในการบำรุงเส้นเอ็น กระดูก สายตา ใช้รับประทานสดและประกอบเป็นอาหาร เช่น แกงเลียง ต้มกะทิ ใช้ห่อเมี่ยงคำ ผัดวุ้นเส้น แกงไตปลา และผัดผัก ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย นิยมนำเนื้อในเมล็ดของผักเหมียงมาทำข้าวเกรียบ

ความสำคัญ และที่มาของโครงการ

       พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้ นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นแหล่งพันธุกรรมของพืชที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อวงการเกษตรในอนาคต รวมทั้งมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของประชากรในท้องถิ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรกรรม มีผลให้พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จึงควรมีมาตรการในการอนุรักษ์ พันธุ์พืชที่สำคัญดังกล่าวอย่างยั่งยืนนั่นคือการทำให้ประชาชนรู้จัก เห็นคุณค่าและประโยชน์ พร้อมทั้ง มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา

ขอบคุณขอมูลจาก http://www.natres.psu.ac.th

Tags : พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้

 
ติดต่อเรา / Contact us E-mail : Bailang@windows.com Or http://bailang.igetweb.com
view