http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ต้นเหลียง
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 27/06/2011
ปรับปรุง 12/03/2021
สถิติผู้เข้าชม1,071,129
Page Views1,461,494
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
ข้อมูลต้นเหลียง
ผักปลอดสารพิษ
ผักพื้นบ้าน
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

สารต้านอนุมูลอิสระในดอกดาหลา

สารต้านอนุมูลอิสระในดอกดาหลา

 ชื่อวิทยานิพนธ์ สารต้านอนุมูลอิสระในดอกดาหลา ผู้เขียน นางสาวปิยศิริ สุนทรนนท์ สาขาวิชา ชีวเคมี ปีการศึกษา 2551

บทคัดย่อ งานวิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งได้รับความสนใจอย่าง มากในปัจจุบัน สารต้านอนุมูลอิสระที่พบโดยทั่วไปจะพบในผัก ผลไม้ เช่น วิตามินซี วิตามินอี สาร กลุ่มคาร์โรทีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ และ กลุ่มไทออล (-SH) พืชตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นพืชพื้นบ้านใน ภาคใต้ทั้งหมด 6 ชนิดคือ ผลมะอึก (Solanum stramonifolium Jacq.) ดอกดาหลา (Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith) ผลหว้า (Syzygium cumini (L.) Skeels)ดอกเข็ม (Ixora chinensis lamk) ใบทำมัง (Litsea petiolata Hook. f.) และ ใบเหมียง (Gnetum gnemon var. tenerum Markgr) ได้ทำการศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระทั้งหมด 4 ชนิดคือ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก ปริมาณเบต้า-แคโรทีน ปริมาณวิตามินอี และ ปริมาณวิตามินซี จากผลการทดลองหาปริมาณสาร ต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ในเปลือกมะอึก เนื้อมะอึก ดาหลา หว้า ดอกเข็ม ใบทำมัง และ ใบเหมียง พบว่าสารสกัดจากพืชเกือบทั้งหมดมีสารต้านอนุมูลอิสระดังกล่าวในปริมาณที่สามารถวิเคราะห์ได้ ยกเว้น เบต้า-แคโรทีน จากใบทำมังและใบเหมียง รวมถึงวิตามินซีจากใบทำมัง การหาค่าความสามารถในการดักจับสารอนุมูลอิสระ DPPH• ด้วยสารสกัดจาก พืชตัวอย่างใช้สารสกัดปริมาณฟีนอลิกเท่านั้น เนื่องจากสารประกอบฟีนอลิกเป็นสารที่พบมาก ที่สุดในพืช โดยรายงานในรูปของค่า 50 IC (ความเข้มข้นของสารประกอบฟีนอลิกที่สามารถลดค่า การดูดกลืนแสงของ DPPH• ได้ 50%) พบว่า สารสกัดจากดอกดาหลาจะให้ค่า 50 IC ต่ำที่สุด คือ เมื่อเวลาผ่านไป 30 นาทีมีค่าเท่ากับ 3.02 (μg/ml GAE) จากนั้นจึงนำสารสกัดจากดอกดาหลาไป ทำบริสุทธิ์ด้วยการสกัดกับ Dichloromethane และ Ethyl acetate สารสกัดที่ได้จากตัวทำละลาย Ethyl acetate มีความสามารถในการดักจับอนุมูลอิสระ DPPH• ได้ดีกว่า จึงนำสารสกัดจากตัวทำ ละลาย Ethyl acetate ไปศึกษาความบริสุทธิ์ต่อด้วยวิธี TLC โดยใช้ตัวเคลื่อนที่เป็น Hexane: Chloroform: Methanol ในอัตราส่วน 2: 6: 2 โดยปริมาตร ซึ่งพบมีสารประกอบฟีนอลิกรวมกันอยู่ อย่างน้อย 4 ชนิด โดยสารประกอบฟีนอลิกในแถบล่างสุด มีความสามารถในการดักจับอนุมูลอิสระ DPPH• ได้ จึงนำไปศึกษาต่อด้วยวิธี LC-MS พบสารประกอบฟีนอลิกอีกจำนวนมากผสมอยู่ใน ตัวอย่าง สามารถระบุได้ว่าสารประกอบฟีนอลิกที่พบในสารสกัดดอกดาหลาเป็นสารประกอบ ฟีนอลิกในกลุ่มสารประกอบฟลาโวนอยด์มีมวลที่สูง อย่างไรก็ดีในการศึกษาหาชนิดและโครงสร้าง ของสารประกอบฟีนอลิกดังกล่าวในดอกดาหลานั้นต้องมีการศึกษาเชิงลึกต่อไป

 

แหล่งข้อมูล http://202.28.199.3/tdc/index.php

ข้อมูลเพิ่มเติม doc2.clib.psu.ac.th/public13/thises/312062.pdf

Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

 
ติดต่อเรา / Contact us E-mail : Bailang@windows.com Or http://bailang.igetweb.com
view