http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ต้นเหลียง
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 27/06/2011
ปรับปรุง 12/03/2021
สถิติผู้เข้าชม1,069,687
Page Views1,459,812
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
ข้อมูลต้นเหลียง
ผักปลอดสารพิษ
ผักพื้นบ้าน
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนสีใบผักเหลียงหลังการเก็บเกี่ยว

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนสีใบผักเหลียงหลังการเก็บเกี่ยว

ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนสีใบผักเหลียงหลังการเก็บเกี่ยว

กนกพร บุญญะอติชาติ และสุภา การถาง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร

 

Kbkanokp@kmitl.ac.th

 

คำนำ (Introduction)

ผักรับประทานใบบางชนิดมีการเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีเหลืองอย่างรวดเร็วเมื่อเสื่อมสภาพ สีเหลืองของใบถือเป็นการสูญเสียคุณภาพทางการตลาด เกิดจากการย่อยสลายของคลอโรฟิลล์ภายในใบ ปัจจัยที่กระตุ้นการเปลี่ยนสีดังกล่าวได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น และก๊าซเอทิลีน (Siripanich, 2005) ผักเหลียง (Gnetum gnemon L.) ผักพื้นบ้านของภาคใต้ของประเทศไทย ส่วนที่ใช้รับประทานคือใบอ่อนและใบเพสลาด เมื่อใบเหี่ยวไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค แต่ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองช้ามากขณะวางจำหน่ายที่อุณหภูมิห้อง 29°C ดังนั้นการทดลองครั้งนี้จึงศึกษาปัจจัยหลังการเก็บเกี่ยวใดที่มีผลต่อการเปลี่ยนสีใบ

 

อุปกรณ์และวิธีการ (Materials and Methods)

ปัจจัยที่ทำทดลองประกอบด้วย แสงไฟ อุณหภูมิ ความชื้น และเอทิลีนจากภายนอก ทำการคัดขนาดและคุณภาพของใบผักเหลียงระยะใบเพสลาด (immature) ให้มีความสม่ำเสมอ นำใบบรรจุลงถุงพลาสติกใส ชนิด polyethylene (PE) ที่มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร จากนั้นนำไปวางไว้ที่มีการให้แสงสว่างจากหลอดไฟเพิ่มในเวลากลางวัน และไม่มีการเพิ่มแสงสว่าง หรือ เพิ่มความชื้นให้แก่ใบผักด้วยการใส่สำลีชุบน้ำลงในถุง PE หรือ สารดูดความชื้น  อุณหภูมิสำหรับการเก็บรักษาคือ 4 8 12 29 (อุณหภูมิห้อง) และ 35 องศาเซลเซียส การให้เอทิลีนภายนอกแก่ใบผักที่ระดับความเข้มข้น 0 10 20 30 40 และ 50 ไมโคลิตรต่อลิตร (uL L-1) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง บันทึกอายุการวางจำหน่ายกำหนดให้ใบหมดอายุเมื่อใบเหี่ยวหรือซีด คะแนนการเปลี่ยนสีใบ ใช้ระดับการเปลี่ยนสี 1-5 ระดับ 1 คือ 0-20% และ 5 คือ 81-100% การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสด แต่ละทรีทเมนต์ประกอบด้วยก้านใบ 10 ก้าน วิเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Duncan’s new multiple range test (DMRT).

 

ผลและวิจารณ์ (Results and Discussion)

ใบผักเหลียงที่วางไว้ในที่มืดมีอายุการวางจำหน่ายไม่แตกต่างจากที่มีแสงที่อุณหภูมิ 29°C ความชื้นสัมพัทธ์ 85%  Kader (2002) กล่าวว่าการเก็บรักษาผลิตผลสดโดยทั่วไปสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง และที่มีความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% สอดคล้องกับผลการใส่สารตัวดูดความชื้นแก่ใบผัก ทำให้มีอายุการวางจำหน่ายน้อยกว่าการเพิ่มความชื้น  ใบผักเหลียงที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ 4 8 และ 12°C มีอายุการวางจำหน่ายนานกว่าที่ 29°C และ 35°C ทั้งนี้เนื่องจากอุณหภูมิต่ำช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงเมทาบอลึซึมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเอนไซม์ เช่น การย่อยสลายคลอโรฟิลล์ ทำให้ใบผักแสดงอาการเสื่อมสภาพช้าลง (Kader, 2002)

การเปลี่ยนสีของใบเมื่อเสื่อมสภาพในที่มืดและที่มีแสงไม่แตกต่างกัน เช่นเดี่ยวกับการเปลี่ยนสีใบที่ได้รับความชื้นและไม่ได้รับความชื้น รวมทั้งใบที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องและ 35°C ไม่แสดงอาการใบเหลือง แต่เมื่อให้เอทิลีนจากภายนอกแก่ใบพบว่า เกิดสีเหลืองที่ใบอย่างรวดเร็ว แสดงว่าวิถีการย่อยสลายคลอโรฟิลล์ในใบผักเหลียงเกิดขึ้นได้ตามปกติเมื่อได้รับเอทิลีน  สอดคล้องกับ Koukounaras et al. (2006) ให้เอทิลีนที่ความเข้น 1 uL L-1 แก่ใบ rocket (Eruca sativa Mill.) ใบมีคะแนนใบเหลืองระดับหมดอายุตั้งแต่วันที่ 6 ขณะที่ใบที่ไม่ได้รับเอทิลีนยังไม่พบอาการใบเหลือง เช่นเดียวกับ Able et al. (2002) ทดลองให้เอทิลีนภายนอกที่ความเข้มข้น  1 uL L-1 แก่ ใบ pak choy (B. rapa var chinensis) และทำให้ใบผักมีการเปลี่ยนสีเหลืองมากขึ้นและอายุการวางจำหน่ายน้อยกว่าที่ความเข้มข้นเอทิลีน 0.1  uL L-1

บทสรุป (Conclusion)

เอทิลีนจากภายนอก ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีใบผักเหลียง

 

คำสำคัญ (Keywords)  ผักเหลียง (Gnetum gnemon L.) สีใบ อุณหภูมิ เอทิลีนจากภายนอก อายุการวางจำหน่าย

 

กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements)

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ)

 

เอกสารอ้างอิง (References)

 

Able, A.J., Wong, L.S., Prasad, A., O’Hare, T.J.  2002. 1-MCP is more effective on a floral brassica (Brassica oleracea var. italica L) than a leafy brassica (Brassica rapa var. chinensis). Postharvest Biol. Technol. 26:147-155.

Keder, A.A. 2002. Phostharvest technology of horticultural crops. Division of agriculture and natural resources. University of California. USA.

Koukounaras, A., Siomos, A.S., and Sfakiotakis E.  2006.  1-Methylcyclopropene prevents ethylene induced yellowing of rocket leaves. Postharvest Biol. Technol. 41:109-111.

Siripanich, J. 2006. Postharvest biology and plant senescence. National agricultural extension and training center. Kasetsart university, Kamphaengsaen Campus. Nakhon Pathom, Thailand.

 

เอกสารเพิ่มเติม https://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:G8qzggMvZ8cJ:research.wu.ac.th/filedoc/20120430125934.doc+%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87&hl=th&gl=th&pid=bl&srcid=ADGEESgNKqP2Nd5aW2w2j3zeZcbqcNFDAjxzRYahLGkfiG41L1dVTqXeYD3yUdUNoOhC4bVyVCqnId4ZTnajg1bczIGqn-v76ja-L6-RF4s9Od9-d_0dLzcY6NZbYoKpxzf31dnDL1ej&sig=AHIEtbQHwBv-Z_NHRw0XzwYCFkpQeS4djA

 

ข้อมูลจาก https://ird.wu.ac.th

Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

 
ติดต่อเรา / Contact us E-mail : Bailang@windows.com Or http://bailang.igetweb.com
view