http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 ต้นเหลียง

สถิติ

เปิดเว็บ27/06/2011
อัพเดท12/03/2021
ผู้เข้าชม1,067,555
เปิดเพจ1,457,431

ข้อมูลต้นเหลียง

กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดคลอโรฟิลล์ด้วยเอทานอลจากผักเหมียง

พันธุ์ผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมืองภาคใต้

ข้อมูลของหนังสือผักเหลียง

ผักเหลียงชุมพร

ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้

ปลูกต้นไม้ ๘๔ ชนิด เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ปลูกผักเหมียงในสวนยาง รายได้ง่าย ๆ

โครงการส่งเสริมอาชีพเสริมและเงินหมุนเวียน

การปลูกผักเหลียง

การศึกษาทางสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของผักเหมียง

ปลูกผักเหลียงเป็นพืชแซมสะตอ

เส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นทางที่ 1 ชมธรรมชาติรอบๆป่าวัดสวนวางระยะทาง 500 - 600 เมตร

การปลูก”ผักเหมียง(เหลียง)”ร่วมกับต้นยางพารา

ปลูกผักเหมียงแซมยาง เสริมรายได้

ต้นไม้พื้นบ้านทางใต้ ที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ และน่าจะปลูกได้ทุกที่

การปลูกผักเหลียงในสวนยาง

ปลูกผักเหลียงในภาคเหนือ

Cara mencegah penuaan dini atasi pakai daun MELINJO !!

ผักปลอดสารพิษ

ผักพื้นบ้าน

iGetWeb.com
AdsOne.com

อาหารต้านโรค

อาหารต้านโรค

ผักพื้นบ้านต้านมะเร็ง ตอนที่ 1

ผักพื้นบ้าน หมายถึง ผักหรือพืชไม้ ที่เจริญในท้องถิ่นและชาวบ้านนำมาบริโภคเป็นอาหารประจำ เกิดตามแหล่งธรรมชาติ ป่าดอย ภูเขา ห้วยบึง ริมน้ำ หรือถูกนำมาปลูกไว้ที่บ้าน ผักพื้นบ้านมีหลายชนิด มีชื่อเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น และนำไปปรุงเป็นอาหารพื้นเมืองให้มีรสชาติตามวิธีเฉพาะของท้องถิ่นนั้น ๆ ผักพื้นบ้านในประเทศไทยเดิมมีมากกว่า 300 ชนิด ส่วนใหญ่จะนำยอดอ่อน ดอก ผล เมล็ด มาใช้บริโภค เราเรียกผักที่มีคุณประโยชน์ให้คุณค่าทางยานี้ว่า ผักพื้นบ้านสมุนไพร ผักพื้นบ้านมีคุณค่ามหาศาล อีกทั้งเป็นพืชที่หาได้ง่าย ราคาถูก และปราศจากยาฆ่าแมลง ปลูกง่าย ทนทานต่อดินฟ้าอากาศ ไม่ต้องดูแลมาก ไม่ต้องปลูกบ่อย เพียงเก็บยอด ดอก ใบ ก็จะแตกหน่อชูช่อใบขึ้นมาใหม่

327365_P2

ชนิดของผักพื้นบ้านไทย

พืชผักพื้นบ้านไทย อาจแบ่งตามส่วนต่าง ๆ ของพืชที่นำมาบริโภคได้เป็น 8 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. กลุ่มใบและยอด เช่นยอดฟักทอง ยอดตำลึง ยอดกระถิน ยอดสะเดา ใบบัวบก ใบขี้เหล็ก ยอดมะม่วง ยอดผักปู่ย่า ยอดกระโดน ผักบุ้ง ผักเชียงดา ผักห้วนหมู ผักโขม
  2. กลุ่มหัวและรากเช่น เผือก มัน มันแกว ขิง ข่า กระชาย ขมิ้น ตะไคร้
  3. กลุ่มดอก เช่น ดอกขจร ดอกโสน ดอกมะรุม หัวปลี ดอกอัญชัน ดอกแค
  4. กลุ่มฝักเช่น ฝักเพกา ฝักมะรุม ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา
  5. กลุ่มผลเช่น ฟักทอง มะแคว้ง มะเขือ มะดัน บวบ ฟักข้าว มะระขี้นก มะกอก
  6. กลุ่มต้นอ่อน เช่น หน่อไม้ หน่อหวาย ถั่วงอก
  7. กลุ่มเมล็ด เช่น เมล็ดสะตอ ลูกเนียง งา
  8. กลุ่มอื่น เป็นกลุ่มพืชชั้นต่ำ ประเภทเห็ดรา เช่น เห็ดต่าง ๆ

327365_P3

เราอาจแบ่งกลุ่มพืชผักพื้นบ้านที่พบดั้งเดิมและบริโภคประจำตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ได้ดังนี้

ชื่อกลุ่มผักในภาคทั้ง 4 ตัวอย่างผัก

1. กลุ่มผักภาคเหนือ ผักเชียงดา ผักฮ้วน ผักแว่น ผักหวาน ผักเฮือด ผักขี้หูด ผักปลัง ผักไผ่ ผักผำ ผักเตา สะแล ผักเสี้ยว พ่อค้าตีเมีย ผักคราด ผักแปม ผักชีลาว กระเจี๊ยบมอญ ฯลฯ
2. กลุ่มผักภาคอีสาน ผักติ้ว ผักกระโดน ใบย่านาง ผักเม็ก สาหร่ายน้ำจืด (เตา) ผักแขยง ผักคราด ผักหวานป่าฯลฯ
3. กลุ่มผักภาคใต้ ใบเหรียง ผักกูด สะตอ ยอดมะกอก ใบยอด ใบมะกอก คูณ ฉิ่ง มะม่วงหิมพานต์ มันปู หมุย เหมียง ฯลฯ
4. กลุ่มผักภาคกลาง ผักบุ้ง ผักกระถิน ใบบัวบก ดอกโสน ใบชะพลู ขี้เหล็ก ยอดแค ผักกะเฉด ใบกะเพรา สะเดา ดอกขจร ชะมวง ฯลฯ

สารอาหารและสารยา

ผักพื้นบ้านสมุนไพรและผักทั่วไป มีสารอาหารครบถ้วนทั้งคาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุ และไวตามินชนิดต่าง ๆ และมีสารอาหารที่ทำหน้าที่เป็นยาป้องกันมะเร็งได้ด้วย มีหลายชนิด เช่น ไวตามิน เอ ไวตามิน ซี ไวตามิน อี เส้นใยอาหาร และสารต่อต้านอนุมูลอิสระ

ไวตามิน เอ เป็นสารอาหารที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย และต่อต้านการเกิดมะเร็ง พืชผักไม่มีไวตามินเอ แต่มีสารประกอบพวกแคโรทีน ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นไวตามินเอได้ในตับ ผักพื้นเมือง ที่มีแคโรทีนมาก ได้แก่ ผักสีเขียวและเหลือง เช่น ยอดแค ใบกะเพรา ใบย่านาง ผักแพว ตำลึง ใบกะเพรา ผักแว่น ใบเหลือง ใบแมงลัก ผักชะอม ฟักทอง ฯลฯ (รูปกราฟที่ 1)

ไวตามิน ซี เป็นสารอาหารที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย และช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง พบมากในผักสดและผลไม้ทั่วไป โดยเฉพาะผักสด ใบส่วนยอด และเมล็ดที่กำลังจะงอก เช่น ถั่วงอก ผักพื้นบ้านที่มีไวตามินซีสูง ได้แก่ ยอดสะเดา ใบเหลียง มะระขี้นก ผักหวาน ผักเชียงดา ดอกขี้เหล็ก ดอกผักฮ้วนหมู ยอดผักฮ้วน มะรุม พริก ผักกระโดน ผักขี้หูด ผักแพว

ไวตามิน อี เป็นสารอาหารที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย และช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง พบมากในถั่วเหลือง เมล็ดถั่ว และ เมล็ดพืชต่าง ๆ ที่ให้น้ำมัน

เส้นใยอาหาร (dietary fiber) สามารถจะดูดซับไขมัน สารพิษ ลดการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ช่วยการขับถ่าย ไม่ให้ท้องผูก ช่วยให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ดีขึ้น ป้องกันไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร ท้องผูกเรื้อรัง และมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants)

ผักพื้นบ้านไทยประมาณ 39 ชนิด* ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง คือ มันปู ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมะกอก พริกไทยอ่อน ผักกระเฉดต้น สะระแหน่ ใบกะเพรา ขี้เหล็ก กระโดนบก ทำมัง ผักไผ่ สะเดา ฝักกระถิน ใบย่านาง ติ้ว ใบมะตูม หมุย กระโดนน้ำ ตำหยาน ใบมันเทศ ลูกฉิ่ง เหงือกปลาหมอ ผักแปม มะปราง ดอกข่า ใบแมงคะ ผักเฮือด ใบมะม่วงแก้ว พังพวยน้ำ ผักขยา เม่า ซี่ปุ้ ไทรส้ม ยอดเมา หวาย สะเม็ก และมะสัง

*จากข่าวผักพื้นบ้านไทย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

(http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=1901.55;wap2)

ที่มา http://www.calintertrade.co.th/blog/?p=54

Tags :

4 ความคิดเห็น

  1. 4
    รูปประจำตัว
    choc bettenewkirk@yahoo.de 29/04/2018 06:41
    Thanks very nice blog!
  2. 3
    รูปประจำตัว
    foot pain cream walgreens kirbybranson@yahoo.de 03/07/2017 19:26
    Thanks for finally writing about >
  3. 2
    รูปประจำตัว
    manicure brodiehenschke@gmail.com 04/05/2017 05:36
    Greetings! Very helpful advice within this article! It's the little changes that

    will make the biggest changes. Many thanks for sharing!
  4. 1
    รูปประจำตัว
    BHW florentina_renard@yahoo.com 13/04/2017 19:37
    After checking out a few of the blog articles on your site,

    I seriously appreciate your way of writing a blog.

    I saved it to my bookmark webpage list and will be checking back soon. Please check out my

    website too and let me know how you feel.

แสดงความคิดเห็น

*

*

view

ติดต่อเรา / Contact us

E-mail : Bailang@windows.com

Or http://bailang.igetweb.com

view