http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ต้นเหลียง
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 27/06/2011
ปรับปรุง 12/03/2021
สถิติผู้เข้าชม1,308,742
Page Views1,760,937
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
ข้อมูลต้นเหลียง
ผักปลอดสารพิษ
ผักพื้นบ้าน
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๑ / เรื่องที่ ๗ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๑ / เรื่องที่ ๗ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน

 

 

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๑ / เรื่องที่ ๗ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน

 

สำหรับเด็กระดับโตและบุคคลทั่วไป

พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน

ความหมายและขอบเขตของพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน

พฤกษศาสตร์พื้นบ้านในประเทศไทย

พืชสมุนไพรพื้นบ้าน

พืชมีพิษ

พืชที่ใช้แต่งสีอาหารหรือให้สีย้อม

พืชอาหาร

พืชที่ใช้ทำกระดาษ

พืชที่ใช้ทำดนตรีพื้นบ้าน

พืชที่ใช้งานในหัตถกรรมพื้นบ้าน

พืชกับศิลปะไทยโบราณ

พืชอเนกประสงค์

พฤกษศาสตร์พื้นบ้านกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน

พฤกษศาสตร์พื้นบ้านกับงานส่งเสริมศิลปาชีพ

 

พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน  ของไทย หมายถึง พืชพื้นบ้าน ที่ชนชาวไทย นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อาจแบ่งออกได้เป็น พืชสมุนไพร พืชอาหาร พืชให้สีแต่งอาหารและให้สีย้อม พืชมีพิษ และพืชที่ใช้ในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน

พืชสมุนไพร
คือ กลุ่มของพืช ที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรค พืชสมุนไพรมีหลายร้อยชนิด ใช้รักษาโรคแตกต่างกันไป เช่น ไพล

พืชอาหาร
พืชอาหารในพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน หมายถึง พืชที่เก็บหาได้ในธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้เป็นอาหาร พืชเหล่านี้มีอยู่ตามป่า ในท้องทุ่ง หรือตามหัวไร่ปลายนา ซึ่งห่างไกลจากบ้านเรือน ปัจจุบันได้มีการนำพืชดังกล่าวบางชนิด มาปลูกไว้ในสวน หรือในไร่ใกล้บ้าน เพื่อสะดวกในการใช้และบำรุงรักษา เช่น บัวสาย

พืชให้สีอาหารและสีย้อม
คือ กลุ่มของพืช ที่ชาวบ้านนำมาใช้ทำสีอาหาร และใช้ทำสีย้อม เช่น อัญชัน

พืชมีพิษ
หมายถึง กลุ่มพืชที่มีสารพิษสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ อาจเป็นที่ ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด หัวใต้ดิน หรือทุกส่วน เช่น บอน

พืชที่ใช้ในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน
หมายถึง กลุ่มพืชที่ชนพื้นบ้าน ใช้เป็น    วัตถุดิบในงานจักสาน ทำเครื่องมือ เครื่องใช้ในการเกษตร จับหรือดักสัตว์ และภาชนะ    ใช้สอยในครัวเรือน เช่น หมาก

พืชอเนกประสงค์
หมายถึง พืชที่ใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งในด้านการบริโภค    อุปโภค และพิธีกรรม

 

          มนุษย์เกี่ยวข้องกับพืชพรรณตั้งแต่เริ่มวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ปัจจัยสี่อันจำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ได้จากพืชเป็นส่วนใหญ่ มนุษย์นำพืชมาใช้ประโยชน์หลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามสภาพสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของกลุ่มชนแต่ละท้องถิ่น นอกจากการใช้ประโยชน์พืชโดยตรงแล้ว มนุษย์ยังนำพืชมาใช้ทางด้านพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อถือโชคลาง งานนักขัตฤกษ์ ฯลฯ หรือนำมาใช้ในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน การใช้ประโยชน์พืชดังกล่าว ได้ถ่ายทอดต่อกันมาจากบรรพชนหลายรุ่น จนกลายเป็นความรู้ หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน (traditional knowledge หรือfolk knowledge) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านแบบหนึ่ง ของกลุ่มชนท้องถิ่น ภูมิปัญญาพื้นบ้านส่วนใหญ่ ได้จากการบอกเล่าจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ความรู้เหล่านี้เกิดจากประสบการณ์ และการลองแบบถูก-ผิด ที่ได้สั่งสมติดต่อกันมาเป็นเวลานาน    แต่การจดบันทึกภูมิปัญญาพื้นบ้านไว้เป็นหลักฐาน    ยังมีปรากฏอยู่น้อยมาก นอกจากคำบอกเล่า จากความทรงจำของกลุ่มชนพื้นบ้าน ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ และวัฒนธรรมพื้นบ้าน จึงขาดตอน    หรือขาดตกบกพร่องขึ้นได้ง่า ยในกลุ่มชนพื้นบ้าน    โดยเฉพาะในชุมชนที่มีการพัฒนา โดยวัฒนธรรมเมืองหลั่งไหลเข้ามามีบทบาทแทนวัฒนธรรมพื้นบ้าน    ที่นับวันจะเสื่อมสูญไป
ในยุคโลกาภิวัฒน์ วัฒนธรรม และความรู้พื้นบ้าน ในการใช้ประโยชน์พืช ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ยังคงเหลืออยู่บ้าง ตามกลุ่มชนพื้นบ้าน ในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลจากสังคมเมือง กลุ่มชนหลายแห่ง มีความผูกพันกับพืชมานาน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มตน ดังเช่น วัฒนธรรมการบริโภคข้าวเหนียวทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การบริโภคพืชผัก จำพวกสะตอและลูกเนียงทางภาคใต้ การผลิต เครื่องดนตรีประเภทเป่าที่เรียกว่า "แคน"ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การผลิตเครื่องเขินของจังหวัดเชียงใหม่ การผลิตกระเป๋าย่านลิเภาของจังหวัดนครศรีธรรมราช ฯลฯ การผลิตดังกล่าว ได้พัฒนามาจากความรู้ และหัตถกรรมพื้นบ้านของกลุ่มชนในสังคมชนบท ดังนั้นเราสามารถสืบสาวเรื่องราวความเป็นมาของกลุ่มชนโบราณ และกลุ่มชนพื้นบ้าน แต่ละยุคแต่ละสมัยได้ โดยอาศัยความเกี่ยวข้องของพืชพรรณ ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชนพื้นบ้าน ในปัจจุบันนักวิชาการได้ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านไม่ให้เสื่อมสูญไป จึง เริ่มงานค้นคว้าวิจัย จดบันทึกความรู้ ในการใช้ประโยชน์พืชของกลุ่มชนพื้นบ้าน ตามแบบแผนของการศึกษาวิชาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านอย่างจริงจัง

 

ความหมายและขอบเขตของพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
        พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญอีกสาขาหนึ่งของวิชาพฤกษศาสตร์ ตรงกับนิยามศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Ethnbotany"เรียกกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438)จากการศึกษาพรรณไม้ที่ชาวพื้นเมืองท้องถิ่นนำมาใช้ประโยชน์ของ ดร.จอห์น ดับเบิลยู ฮาร์ชเบอร์เกอร์ (Dr. John W. Harshberger)พฤกษศาสตร์พื้นบ้านเป็นคำผสมระหว่าง "พฤกษศาสตร์" หมายถึง วิชาที่ศึกษาในเรื่องพืช และ "พื้นบ้าน"หมายถึง กลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่งที่มีเอกลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน อาจจะเป็นการดำรงชีพ ใช้ภาษาท้องถิ่นเดียวกัน นับถือศาสนา หรือความเชื่อถือเดียวกัน กล่าวได้ว่า กลุ่มชนนั้นมีจุดรวมของวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีร่วมกัน ความหมายของคำว่า พื้นบ้านในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะชาวชนบท หรือชาวไร่ ชาวนา แต่อาจจะเป็นกลุ่มชนเมือง หากกลุ่มชนนั้นยังคงเอกลักษณ์ของกลุ่มตนไว้ได้ พฤกษศาสตร์พื้นบ้านจึงเป็นวิชาที่ศึกษาถึงความเกี่ยวข้องระหว่างพืชและกลุ่มชนพื้นบ้าน ความหมายที่ชัดเจนของวิชานี้ก็คือ "การนำพืชมาใช้ของกลุ่มชนพื้นบ้านที่สืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ หรือได้รับการถ่ายทอดจากเพื่อนบ้านในกลุ่มของตน จนเป็นเอกลักษณ์การใช้พืชพรรณประจำท้องถิ่นนั้น"พฤกษศาสตร์พื้นบ้านเกี่ยวข้องกับศาสตร์อื่นๆ อีกหลายสาขา เช่น พฤกษศาสตร์จำแนกพวกพฤกษนิเวศ มานุษยวิทยา นิรุกติศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ฯลฯ
จะเห็นได้ว่า กลุ่มชนพื้นบ้านมีความผูกพันกับพืช มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่เกี่ยวกับพืชของกลุ่มชนในท้องถิ่นได้สูญหาย หรือขาดการถ่ายทอดไปแล้วมากมาย ตามกาลเวลาที่ผ่านไป เมื่อสังคมพื้นบ้าน หรือสังคมชนบท ได้พัฒนาไปสู่สังคมเมือง หรือสังคมอุตสาหกรรม แต่การศึกษาวิชาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านตามแบบแผน ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นของทศวรรษที่ผ่านมา ก่อนหน้านั้น งานค้นคว้าวิจัย ที่เกี่ยวกับการนำพืชมาใช้ประโยชน์ จะเน้นแต่ความสำคัญ และคุณค่าทางเศรษฐกิจของพืช เช่น พืชสมุนไพร-เครื่องเทศ พืชอาหาร พืชเส้นใย พืชที่ใช้ในการก่อสร้าง อันเป็นการศึกษาวิชาพฤกษศาสตร์เศรษฐกิจ(Economic botany) มากกว่าที่จะเป็นการศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ซึ่งมีรูปแบบการศึกษาแตกต่างออกไป เช่น การศึกษาพืชผักพื้นบ้านตามชนบท ที่ได้จากการเก็บหาในธรรมชาติ หรือจากป่า แตกต่างจากการศึกษาพืชผักเศรษฐกิจ ที่ได้จากการปลูกในแปลงผักเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามพืชผักพื้นบ้านหลายชนิด ที่เกิดจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน อาจจะมีศักยภาพ กลายมาเป็นพืชผักเศรษฐกิจขึ้นได้ในอนาคต หากได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง
การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านครอบคลุมไปถึงศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอีกหลายสาขา เช่น เภสัชพื้นบ้าน (Ethnopharmacology) เกษตรกรรมพื้นบ้าน(Ethnoagriculture) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมแบบโบราณ เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน ที่ใช้ทำการเกษตร และการปลูกพันธุ์พืชดั้งเดิม หรือพันธุ์พืช ที่ยังไม่ได้ปรับปรุงพันธุ์ เครื่องสำอางพื้นบ้าน (Ethnocosmetics) ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องประทินผิว เครื่องร่ำ เครื่องหอม และวิธีการผลิต เช่น การนำไม้กระแจะมาเป็นเครื่องประทินผิว การทำเครื่องหอมปรุงน้ำอบ หรือแป้งร่ำ จากดอกชำมะนาด ดอกมะลิ ดอกกระดังงาไทย ดนตรีพื้นบ้าน(Ethnomusicology) ศึกษาเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้าน และพืชที่ใช้ทำเครื่องดนตรีพื้นเมือง และวิธีการทำเครื่องดนตรี ถึงแม้ว่ามนุษย์จะเกี่ยวข้องกับพืช โดยนำพืชมาใช้ประโยชน์หลายรูปแบบมานานแล้ว แต่พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ยังเป็นวิชาที่ค่อนข้างใหม่ ปัจจุบันอยู่ในความสนใจของนักพฤกษศาสตร์ นักนิเวศวิทยา นักเภสัชศาสตร์ นักพฤกษเคมี นักมานุษยวิทยา นักธรรมชาติวิทยา นักโบราณคดี นักนิรุกติศาสตร์ ฯลฯ
กล่าวได้ว่าการศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน เป็นการศึกษาหาความรู้จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่เกี่ยวกับพืช โดยศึกษาถึงชนิดพันธุ์พืชที่ถูกต้อง ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อพื้นเมือง ถิ่นกำเนิด ประโยชน์ หรือโทษของพืช ฯลฯ ตลอดจนศึกษาถึงวิธีการนำพืชไปใช้ จนกลายเป็นวัฒนธรรมของกลุ่มชนพื้นบ้าน ชนบางกลุ่มได้อนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ หรือพื้นที่ป่าไม้ ของหมู่บ้านเอาไว้สืบต่อกันมา ด้วยความเชื่อถือ เกี่ยวกับโชคลาง หรือสงวนไม้เพื่อใช้สอย เช่น ป่า ปู่ตา ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นป่าชุมชนประเภทหนึ่ง ที่มีการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ป่าไม้แบบยั่งยืน   

 

พฤกษศาสตร์พื้นบ้านในประเทศไทย
       การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในประเทศไทย อยู่ในระยะเริ่มต้น ข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์พืช โดยผ่านการค้นคว้าวิจัยตามแบบแผน    มีน้อยมาก เท่าที่มีการจดบันทึกเป็นหลักฐานอยู่บ้าง    ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับพืชสมุนไพร ในตำรับยาไทยโบราณ  ข้อจำกัดของการศึกษาพฤกษศาสตร์    พื้นบ้านในประเทศไทยก็คือ ประเทศไทยยังขาด    ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของ    ทรัพยากรพืช ทั้งยังขาดแคลนนักพฤกษศาสตร์ที่    เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ทางด้านการจำแนก    พรรณพืช และขาดแคลนนักพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน    (Ethnobotanist) ผู้มีประสบการณ์สามารถจำแนก    พืชในละแวกชุมชนของตนเองได้
ข้อมูลพื้นฐานทรัพยากรพรรณพืชของประเทศใดประเทศหนึ่ง จะปรากฏอยู่ในหนังสือพรรณพฤกษชาติ (flora)ประเทศไทยยังไม่เคยมีหนังสือพรรณพฤกษชาติของประเทศฉบับสมบูรณ์มาก่อน ในขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ตีพิมพ์หนังสือพรรณ พฤกษชาติของประเทศมานานแล้ว โดยนัก พฤกษศาสตร์ชาวตะวันตก ได้แก่ หนังสือพรรณพฤกษชาติของประเทศอินเดีย พม่า แหลมมลายู ภูมิภาคอินโดจีน และชวา หนังสือพรรณพฤกษชาติของประเทศไทยตอนแรก ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ - พ.ศ. ๒๕๓๘ ตีพิมพ์หนังสือไปได้เพียงประมาณร้อยละ ๓๐ ของจำนวนพืชที่มีท่อลำเลียง(vascular plants) ทั้งหมดของประเทศ ซึ่งมีประมาณไม่ต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ ชนิด ดังนั้นประเทศไทยยังขาดข้อมูลพื้นฐานพรรณพฤกษชาติอยู่อีกมาก อันเป็นข้อจำกัดที่สำคัญประการหนึ่ง ในการศึกษา ค้นคว้าพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในประเทศไทย
การศึกษาทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในประเทศไทยที่ผ่านมา ผลงานส่วนใหญ่ปรากฏเป็นเพียงรายงานเบื้องต้น เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์พืช    ของกลุ่มชนพื้นบ้าน โดยเฉพาะการใช้พืชสมุนไพร    และพืชอาหาร นอกจากนี้มีรายงานไม่กี่เรื่องที่    กล่าวถึง พืชที่มีพิษ พืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบในงาน    หัตถกรรมพื้นบ้าน และพืชโบราณที่ปรากฏอยู่ใน    จารึก หรือถูกกล่าวขานในวรรณคดีไทยหรือนิทาน    พื้นบ้านในยุคสมัยต่างๆ  ส่วนงานค้นคว้าวิจัย    พฤกษศาสตร์พื้นบ้านตามแบบแผนที่ได้มาตรฐาน    โดยมีการสำรวจในพื้นที่พร้อมบันทึกรายละเอียด    และทำการเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้งไว้เป็นหลักฐาน    (voucher specimen) ยังมีน้อยมาก เท่าที่ปรากฏ    มีผลงานเพียงไม่กี่เรื่อง ได้แก่ การศึกษาเกี่ยวกับ    การใช้พืชสมุนไพรของชาวเขาบางเผ่าทางภาคเหนือ    โดยนักวิชาการชาวต่างประเทศ
งานค้นคว้าวิจัยทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในประเทศไทยมีขอบเขตกว้าง ขึ้นกับวัตถุประสงค์ และความชำนาญเฉพาะเรื่องของผู้วิจัย แต่ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาการใช้พืชพรรณกลุ่มใดของกลุ่มชนพื้นบ้าน นักวิจัยด้านนี้จำเป็นต้องมีความรู้ และ ประสบการณ์ทางพฤกษศาสตร์จำแนกพวกเป็น พื้นฐานอยู่บ้าง เพื่อช่วยในการปฏิบัติงานภาคสนาม เป็นไปได้รวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นักวิจัย ควรถือหลักปฏิบัติงานในท้องที่ดังต่อไปนี้
ก. สำรวจพืชพรรณที่ผู้คนนำมาใช้ตามชุมชนพื้นบ้าน ทั้งพืชที่ใช้บริโภค อุปโภค หรือใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อถือ ฯลฯ และเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง (herbarium specimen)ไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการตรวจสอบชนิดพืช และชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
ข. บันทึกชื่อพื้นเมือง รายละเอียดรูปพรรณของพืช ถิ่นกำเนิด ประโยชน์หรือโทษของพืช
ค. บันทึกส่วนของพืชที่นำมาใช้ประโยชน์    โดยเฉพาะพืชสมุนไพร ต้องระบุว่า ใช้ส่วนราก หัว    เหง้า  เปลือก  ยางหรือชันไม้  แก่นไม้  กิ่งไม้  ใบ    ดอก  ผล หรือเมล็ด และวิธีการนำมาใช้ การปรุง    การผลิต ฯลฯ
ง.บันทึกชื่อ อายุ เพศ และความรู้ของผู้คนพื้นบ้าน ที่ให้ข้อมูล หรือให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน และควรสอบถามผู้อื่นในชุมชนเดียวกันซ้ำมากกว่า ๑ ราย เพื่อความแน่นอนว่า มีการใช้พืชดังกล่าวในรูปแบบเดียวกัน
จ. บันทึกสภาพของชุมชนพื้นบ้าน ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน และความเป็นอยู่ของชุมชน ช่วงเวลาของการตั้งถิ่นฐาน การทำเกษตรกรรม    ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อถือต่างๆ   

 

พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
       พืชสมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นยารักษาโรค โดยใช้ส่วนต่างของพืชชนิดเดียว หรือหลายชนิดพร้อมกัน พืชสมุนไพรเป็นกลุ่มพืชที่อยู่ในความสนใจ และมีผู้ศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านมากที่สุด ยารักษาโรคปัจจุบันหลายขนาน ที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม ได้มาจากการศึกษาวิจัย การใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านของกลุ่มชนพื้นเมือง ตามป่าเขา หรือในชนบท ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ที่ได้สังเกตว่า พืชใดนำมาใช้บำบัดโรคได้ มีสรรพคุณอย่างไร จากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ และการทดลองแบบพื้นบ้าน ที่ได้ทั้งข้อดี และข้อผิดพลาด
พืชสมุนไพรพื้นบ้านในตำรับยาไทยมีหลายร้อยชนิด จะนำมากล่าวถึงเป็นตัวอย่างเพียงบางชนิด แยกตามกลุ่มพืชที่ใช้บำบัดโรคต่างๆ    ดังนี้
กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้ไข้และขับปัสสาวะ
    เช่น

  • เปลือกพญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด  (Alstoniascholaris)
  • เปลือกและใบทุ้งฟ้า (Alstonia macrophylla)
  • ใบหนาด (Blumea balsamifera)
  • ราก เปลือก และใบ ขลู่ (Pluchea indica)
  • ใบ เนื้อไม้ ผล และเมล็ดมะคำไก่ หรือประคำไก่ (Drypetes roxburghii)
  • ต้นและรากอ้อเล็ก (Phragmites australis)
  • รากและใบกรุงเขมา (Cissampelos pareira)
  • เถาบอระเพ็ด (Tinospora crispa)
  • เถาขมิ้นเครือ (Arcangelisia flava)
  • ราก เหง้า และใบหญ้าคา (Imperata    cylindrica)
  • ผลน้ำเต้า (Legenaria siceraria)

กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย
เช่น

  • เนื้อไม้สีเสียดหรือสีเสียดเหนือ (Acaciacatechu)
  • ใบและผลมะตูม (Aegle marmelos)
  • เปลือกประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus)
  • เหง้าไพล (Zingiber purpureum)
  • เหง้าและรากกระชาย (Boesenbergia rotunda)
  • แก่นฝาง (Caesalpinia sappan)
  • ราก เปลือก เนื้อไม้ ใบและดอกแก้ว (Murraya paniculata)
  • เปลือกโมกหลวง (Holarrhena pubescens)

กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาระบายและขับพยาธิ
เช่น

  • ผลดิบมะเกลือ (Diospyros mollis)
  • แก่นไม้มะหาด (Artocarpus lakoocha)
  • เมล็ดเถาเล็กมือนาง (Quisqualis indica)
  • เมล็ดสะแกนา (Combretum quadran-gulare)
  • เมล็ดแห้งฟักทอง (Cucurbita moschata)
  • เนื้อในเมล็ดมะขาม (Tamarindus indica)

กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาขับลม
เช่น

  • เหง้าแก่ขิง (Zingiber officinale)
  • เหง้าว่านน้ำ (Acorus calamus)
  • ผลกระวาน (Amomum krervanh)
  • เหง้าข่า (Alpinia galanga)
  • ผลพริกไทย (Piper nigrum)
  • ต้นตะไคร้  (Cymbopogon citratus)

กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้โรคผิวหนัง

  • เปลือก ใบ และเมล็ดสารภีทะเลหรือกระทิง     (Calophyllum inophyllum)
  • ใบและเมล็ดชุมเห็ดไทย (Cassia tora)
  • ใบชุมเห็ดเทศ หรือ ชุมเห็ดใหญ่ (Cassia alata)
  • ใบ ดอกและเมล็ดเทียนบ้าน(Impatiens    balsamina)
  • รากและใบทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus)
  • เปลือก ใบ ดอกและผลโพธิ์ทะเล    (Thespesia populnea)
  • ใบและเมล็ดครามป่า(Tephrosia purpurea)
  • ยางสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum)
  • น้ำยางสบู่ดำ(Jatropha curcas)
  • เมล็ดทองกวาว (Butea monosperma)
  • เปลือกเถาสะบ้ามอญ(Entada rheedii)
  • เมล็ดกระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminthicus)
  • เหง้าข่า (Alpiniaa galanga)
  • หัวหรือกลีบกระเทียม (Allium sativum)

กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและไล่แมลง
เช่น

  • รากเถาโล่ติ๊น หรือหางไหล (Derris elliptica)
  • ใบและเมล็ดน้อยหน่า (Annona squamosa)
  • รากหนอนตายหยาก (Stemona tuberosa)
  • เมล็ดงา (Sesamun indicum)
  • ผลมะคำดีควายหรือมะซัก (Sapindus rarak)
  • ใบเสม็ด หรือเสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi)
  • ต้นขอบชะนาง หรือหญ้าหนอนตาย (Pouzolzia pentandra)
  • เปลือก ใบและผลสะเดา(Azadirachta indica)
  • เปลือกกระเจาหรือกระเชา (Holopteleaintegrifolia)
  • ใบสดกว้าว (Haldina cordifolia)

พืชมีพิษ
       มนุษย์ได้นำพิษของพืชบางชนิดมาใช้ประโยชน์ เช่น นำน้ำยางของพืชที่เป็นพิษมาใช้อาบลูกดอกไม้ ใช้ในการล่าสัตว์ หรือยิงศัตรู และนำพืชที่มีพิษหลายชนิดมาใช้เบื่อปลา ผู้คนพื้นบ้านได้สั่งสมความรู้ และประสบการณ์ ในการเสาะแสวงหาพืชอาหาร ในขณะเดียวกันได้รู้จักพืชที่มีพิษ เพื่อหลีกเลี่ยงพิษของพืช ที่ทำอันตรายต่อร่างกาย หรือการดำรงชีพ ผู้คนพื้นบ้านจึงต้องศึกษาหาวิธี ที่จะกำจัดพิษในพืชให้หมดไป จนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น

  • บอน (Colocasia antiquarum) ส่วนต่างๆ มียางที่ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อเยื่อบุปากและลำคอ เมื่อยางถูกผิวหนัง ทำให้คันหรือเป็นผื่น แต่ชาวบ้านรู้จักนำก้านใบมาดองกับเกลือ กินต่างผักดอง หรือนำมาต้มเคี่ยวในแกงบอน
  • เผือก (Colocasia esculenta) นิยมใช้หัวเป็นอาหาร แต่ต้องต้มให้สุกเสียก่อน เพื่อที่จะได้ไม่คัน เพราะในเผือกมียาง เช่นเดียวกับบอน แต่ปริมาณน้อยกว่า
  • กลอย (Dioscorea hispida) หัวกลอยให้แป้งมาก แต่มีสารที่เป็นพิษต่อระบบประสาท ต้องสกัดสารที่เป็นพิษออกเสียก่อน โดยปอกเปลือก แล้วฝานเป็นแผ่นบางๆ นำไปแช่ในน้ำไหล ๒-๓ วัน หรือหมักเกลือ นำมาคั้นน้ำทิ้ง ๒-๓ วัน แล้วจึงนำมาหุงต้มเป็นอาหารได้
  • หมามุ่ย (Mucuna pruriens) ไม้เถา ผลเป็นฝัก มีขนสีน้ำตาล เมื่อถูกผิวหนังทำให้คัน เมื่อฝักแก่ในฤดูร้อน ขนจะปลิวตามลมได้ง่าย ทำให้ผู้ที่สัมผัสมีอาการคัน โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • พลับพลึง (Crinum asiaticum) พืชล้มลุก มีหัวใต้ดิน ถ้ากิน ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง และท้องร่วง หากกินเกินขนาดจะตาย
  • สบู่ดำ (Jatropha curcas) และสบู่แดง    (Jatropha gossypifolia) เมล็ดมีพิษ กินแล้วทำให้ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง
  • แสลงใจหรือมะตึ่ง (Strychnos nux-vomica)    เมล็ดมีพิษ ถ้ากินเกินขนาด ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก    ขาสั่น ชัก ขากรรไกรแข็ง เป็นอันตรายถึงชีวิต
  • ขี้กาแดง (Trichosanthes tricuspidata) ไม้เถา    ผลสุกสีแดง เมล็ดมีพิษ กินแล้วถึงตาย
  • ตีนเป็ดน้ำ หรือตีนเป็ดทะเล (Cerbera    odollam) ทุกส่วนมียางสีขาว ถูกผิวหนังทำให้เกิด    ผื่นพุพอง เข้าตาทำให้เกิดแผลในตา ทำให้ตาบอด
  • ตาตุ่มทะเล (Excoecaria agallocha) ไม้ในป่าโกงกาง ยางสีขาว มีพิษมาก เข้าตา ทำให้ตาบอด ถ้าปนกับอาหาร กินเข้าไป ทำให้ท้องร่วงอย่างแรง แม้แต่หอยบางชนิด ที่เกาะไม้ชนิดนี้ ถ้าเก็บมาปรุงอาหาร ก็จะเกิดอาการท้องร่วงได้เช่นกัน
  • ยางน่อง (Antiaris toxicaria) ยางจากต้นเป็นพิษมาก ชาวพื้นเมืองหลายกลุ่ม ใช้ชุบปลายลูกศร    ยิงสัตว์ใหญ่ แต่ต้องเฉือนเอาเนื้อสีเขียวคล้ำ ส่วนที่ถูกพิษยางน่องออกจนหมดเสียก่อน จึงใช้เนื้อเป็น    อาหารได้
  • สามใบตาย หรือมะลิเหลือง (Gelsemium elegans) รากและใบมีพิษร้ายแรง รู้จักกันในหมู่ชาวเขาทางภาคเหนือ ชาวเขาเผ่ามูเซอร์เรียกว่า นาโง มีผู้ใช้รากของพืชชนิดนี้ ซอยให้ละเอียดเกือบเป็นผง แล้วบรรจุในซากสัตว์ ที่ใช้เป็นเหยื่อล่อเสือ หรือใช้เป็นยาพิษอาบลูกดอกยิงสัตว์ใหญ่ เนื่องจากพืชมีพิษร้ายแรงเกินไป จึงไม่ใช้ในการเบื่อปลาในแหล่งน้ำ
  • มะกล่ำตาหนู (Abrus precatorius) ไม้เถา    เมล็ดมีพิษ กินแล้วถึงตาย เมื่อนำเมล็ดบดละเอียด    ผสมน้ำหรือน้ำมันมะพร้าว ใช้พอกทาแก้กลากเกลื้อน และใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้ด้วย

พืชที่ใช้แต่งสีอาหารหรือให้สีย้อม
ชนพื้นบ้านรู้จักนำส่วนต่างๆ ของพืชหลายชนิด ที่ให้สี มาใช้แต่งสีอาหาร อันเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ที่ไม่เป็นพิษภัยต่อร่างกาย หรือนำพืชที่ให้สีย้อม มาย้อมผ้า แห อวน หรือหนัง โดยเฉพาะผ้าพื้นเมืองจำพวกผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งให้สีสันเป็นธรรมชาติ ดีกว่าสีวิทยาศาสตร์ หรือสีสังเคราะห์ กลุ่มพืชที่ให้สีดังกล่าว เช่น

  •     เหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร
  • เมล็ดคำแสด (Bixa orellana) ใช้แต่งสีแสดในอาหาร
  • แก่นไม้ฝาง (Caesalpinia sappan) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร และใช้ย้อมผ้า ส่วนรากให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า
  • เมล็ดคำฝอย (Carthamus tinctorius) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร
  • เนื้อผลฟักทอง (Cucurbita moschata) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร
  • เนื้อจากผลตาลโตนด (Borassus flabellifer)    ใช้แต่งสีเหลืองทำขนมตาล
  • ผลสุกผักปลัง หรือผักปั๋ง (Basella alba)    ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร
  • เมล็ดข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa var.    glutinosa) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร
  • กลีบดอกอัญชัน (Clitoria ternata) ใช้แต่งสีน้ำเงิน สีฟ้า สีฟ้าอมม่วงในอาหาร
  • ดอกดอกดิน (Aeginetia indica)I ใช้แต่งสีน้ำเงินเข้ม ทำขนมดอกดิน
  • เนื้อไม้สีเสียดเหนือ (Acacia catechu) ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง
  • ใบอ่อนสัก (Tectona grandis) ให้สีแดงใช้ย้อมผ้า ย้อมกระดาษ
  • เปลือกและผลสมอพิเภก (Terminalia bellirica) ให้สีขี้ม้า ใช้ย้อมผ้า
  • เนื้อไม้แกแล (Maclura cochinchinensis) ให้สีเหลืองปนน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า
  • เปลือกโกงกาง (Rhizophora spp.) ให้สีน้ำตาล    ใช้ย้อมแห อวน หนัง
  • ยางรง (Garcinia hanburyi) ให้สีเหลือง    ใช้ย้อมผ้า และผสมสี
  • เปลือกสะเดา (Azadirachta indica var.    amensis) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
  • รากมะหาด (Artocarpus lakoocha) ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า
  • เปลือก ราก เนื้อไม้ และใบยอป่า (Morinda    pubescens) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
  • เนื้อไม้ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ให้สีแดงคล้ำ และเปลือกให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า
  • เปลือกติ้วขน (Cratoxylum formosum ssp. pruniflorum) ให้สีน้ำตาลเข้ม ใช้ย้อมผ้า
  • ผลมะเกลือ (Diospyrus mollis) ให้สีดำ    ใช้ย้อมผ้า
  • เปลือกสนทะเล (Casuarina equisetifolia)    ให้สีน้ำตาลแกมแดง ใช้ย้อมผ้า
  • เปลือกคาง (Albizia odoratissima) ให้สีน้ำตาล    ใช้ย้อมผ้า หนัง
  • ดอกทองกวาว (Butea monosperma) ให้สีเหลืองอมส้ม ใช้ย้อมผ้า
  • ต้นคราม (Indigofera tinctoria) สมัยก่อน    นิยมใช้ทำสีครามย้อมผ้า
  • ต้นฮ่อม (Baphicacanthus cusia) ให้สีน้ำเงินเข้ม นิยมใช้ย้อมเสื้อม่อฮ่อมทางภาคเหนือ
  • ผลมะเกิ้ม หรือมะกอกเลื่อม (Canarium    subulatum) ให้สีดำ ใช้ทำหมึกเขียนพื้นบ้าน

พืชอาหาร
        กลุ่มชนพื้นบ้านนำพืชหลากชนิดมาใช้เป็น อาหาร แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ตามวัฒนธรรมการบริโภคของชนเผ่า การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ในเรื่องของพืชอาหารพื้นบ้าน จะเน้นเฉพาะพืชที่เก็บหาได้ในธรรมชาติ จากป่า ท้องทุ่ง ฯลฯ พืชป่าหลายชนิดถูกนำมาปลูกทิ้งไว้ ตามหัวไร่ปลายนา หรือในบริเวณหมู่บ้าน เพื่อความสะดวกในการเก็บหา นำมาใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน พืชอาหารบางชนิด เป็นที่นิยมกันทั่วไป เกิดการแก่งแย่งเก็บหาออกจากป่า จนเกินกำลังผลิต ทำให้ผลิตผลในธรรมชาติลดลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในปัจจุบันได้มีการนำพืชป่าดังกล่าว มาปลูกขยายพันธุ์ในสวน หรือในแปลง เพื่อเก็บผลิตผลเป็นการค้า เช่น สะตอ เนียง ผักหวาน ผัก กระเฉด ฯลฯ พืชอาหารที่ใช้บริโภคเก็บหาในธรรมชาติ    บางครั้งจะพบวางขายตามตลาดสดในชนบท    จำแนกออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้

กลุ่มพืชผักพื้นบ้าน
        รวมถึงพืชชั้นต่ำจำพวกสาหร่าย เห็ด เฟิน    จนถึงพืชชั้นสูงทั่วไป ชนพื้นบ้านนำส่วนต่างๆ    ของพืช มาใช้บริโภคตามความเหมาะสม ได้แก่    ส่วนของราก หัว เหง้า ลำต้น ยอด ใบ ดอก ผล    เมล็ด หรือใช้ทั้งต้น วิธีการประกอบอาหารอาจจะใช้เป็นผักสด  ผักลวก  ผักดอง  ต้มใส่ในแกง    ผัด หรือใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร พืชผักพื้นบ้านของไทย เช่น
เทา (Spirogyra sp.) สาหร่ายสีเขียวน้ำจืด    ใช้กินเป็นผักกับน้ำพริก ลาบ ปนในแกงส้ม หรือผัดกับไข่
เห็ด ที่เกิดตามธรรมชาติ และนำมาเป็นอาหาร มีหลายชนิด ส่วนใหญ่จะปรุงให้สุกเสียก่อน    โดยการนึ่ง ย่าง ต้ม หรือผัด ใช้กินกับน้ำพริก ใส่แกงหรือผัดผัก เช่น

  • เห็ดไข่ห่าน (Amanita vaginata)
  • เห็ดลม (Lentinus praerigidus)
  • เห็ดตีนตุ๊กแก (Schizophyllum commune)
  • เห็ดโคน (Termitomyces fuliginosus)
  • เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ(Astreaus    hygrometricus)
  • เห็ดมันปูใหญ่ (Cantharellus cibarius)
  • เห็ดตับเต่า (Boletus edulis)
  • เห็ดหล่มขาวหรือเห็ดตะไคล (Russula    delica)
  • เห็ดขมิ้นน้อย(Craterellus sp.)

เฟิน ใช้ส่วนของยอดอ่อน หรือใบอ่อน เป็น    อาหาร ใช้เป็นผักสด หรือผักดอง นึ่ง ลวก ผัด    หรือใส่แกง เช่น

  • ผักขาเขียด (Ceratopteris thalictroides)
  • ปรงสวน (Stenochlaena palustris)
  • ผักกูดขาว (Diplazium esculentum)
  • ผักแว่น (Marsilea crenata)
  • ผักกูด (Pteridium aquilinum var.    yarrabense)
  • ผักกะเหรี่ยงหรือผักเหลียง (Gnetum gnemon    var. tenerum) ไม้พุ่มจำพวกพืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) ทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ยอดและ    ใบอ่อนนิยมใช้เป็นผักลวกจิ้มน้ำพริก ผัดใส่แกง ห่อหมก
  • สะเดาหรือสะเดาไทย (Azadirachta indica    var. siamensis) ช่อดอกและใบอ่อนมีรสขม นำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำปลาหวาน
  • ผักไผ่ (Polygonum odoratum) ยอดอ่อน    และใบอ่อน ใช้ปรุงอาหารประเภทยำต่างๆ
  • ผักขะยา หรือผักปู่ย่า (Caesalpinia mimosoides) ใบอ่อน และช่อดอกอ่อน ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก
  • เลียบหรือผักเฮือด (Ficus lacor) ใบอ่อน    และยอดอ่อน ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือใช้ใส่แกงคั่ว หรือแกงต้มกะทิ
  • ผักเค็ด หรือชุมเห็ดเล็ก (Cassia occidentalis)    ยอดและใบอ่อนนำมาลวกเป็นผักจิ้ม
  • จมูกปลาหลด (Oxystelma esculenta) ยอดและใบอ่อนใช้เป็นผักจิ้ม หรือยำ
  • เถาย่านาง (Tiliacora triandra) ยอดและใบอ่อนใช้แกงเลียง ใบแก่นำมาปรุงแกงขี้เหล็ก แกงหน่อไม้
  • สันตะวาใบพาย (Ottelia alismoides) ใบอ่อน และช่อดอก ใช้เป็นผักจิ้มสด หรือใช้แกงส้ม
  • ผักเผ็ด (Spilanthes paniculata) ดอกและใบสดใช้กินกับลาบ
  • ลิ้นฟ้า หรือเพกา (Oroxylum indicum) ฝักอ่อนสด ใช้กินกับลาบและน้ำพริก
  • ผักสัง หรือผักกระสัง (Peperomia pellucida)    ยอดและต้น นำมาลวกกินกับลาบ แจ่ว
  • ผักหวานบ้าน (Sauropus androgynus) ใบอ่อนนำมาลวกจิ้มน้ำพริก
  • ผักหวานป่า (Melientha suavis) ยอดและใบอ่อนนำมาลวกเป็นผักจิ้ม หากกินสดๆ จะมีกลิ่นเหม็นเขียวเล็กน้อย
  • บัวสาย (Nymphaea lotus var. pubescens)    ก้านดอกใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือแกงเผ็ด
  • สะตอ (Parkia speciosa) นิยมกินกันมากทางภาคใต้ เมล็ดกินเป็นผักสดกับแกงเผ็ดต่างๆ    หรือนำไปเผาไฟก่อน ใช้ผัดเผ็ด ผัดเปรี้ยวหวาน    ต้มกะทิ
  • เนียงหรือลูกเนียง (Archidendron jiringa)    นิยมเฉพาะทางภาคใต้ ใช้เมล็ดเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือกินกับอาหารเผ็ด ทำเป็นลูกเนียงเพาะ    และดองเป็นผักจิ้ม
  • เรียง (Parkia timoriana) นิยมเฉพาะทางภาคใต้เช่นกัน นำเมล็ดมาเพาะให้งอกรากเล็กน้อย    คล้ายถั่วงอก ใช้เป็นผักสด ผักดองจิ้มน้ำพริก กินกับแกงเผ็ด หรือนำมาแกง
  • ชะพลู (Piper sarmentosum) ใช้ใบกินกับเมี่ยงคำ
  • ขี้เหล็ก (Cassia siamea) ใบอ่อน และช่อดอกอ่อน ใช้แกงขี้เหล็ก
  • ผักปอดหรือจุ่มปลา (Sphenoclea zeylanica)    ยอดและต้นอ่อน ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก
  • หญ้าเอ็นยืด หรือผักกาดน้ำ (Plantago major)    ยอดและใบอ่อน ใช้เป็นผักสดกินกับลาบ
  • ผักปลัง (Basella alba) ช่อดอกอ่อน ยอด    และใบอ่อน ลวกจิ้มน้ำพริก และใช้แกงกะทิ
  • แคหางค่าง (Markhamia stipulata) แคบิด    (Fernandoa adenophylla) และแคป่าหรือแคทุ่ง(Dolichandrone serrulata) ใช้กลีบดอกผัดหรือยำ
  • โสนหรือโสนกินดอก (Sesbania javanica)    ช่อดอกสีเหลือง ใช้เป็นผักสด หรือต้มเป็นผักจิ้ม    ดองน้ำเกลือเป็นผักดอง หรือชุบไข่ทอด
  • สลิดหรือขจร (Telosma minor) ใช้ดอกเป็นผักสด หรือต้มให้สุก หรือผัดใส่ไข่
  • อาวหรือดอกอาว (Curcuma sessilis) ใช้ช่อดอกอ่อนเป็นผักสด
  • งิ้วหรืองิ้วแดง (Bombax ceiba) ใช้เกสร    ตัวผู้แห้ง ที่ร่วงหล่นจากดอก นำมาปรุงกับแกงส้ม    แกงเผ็ด ใบอ่อน ดอกตูม และผลอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก
  • กระโดน (Careya sphaerica) ยอดอ่อนกิน    เป็นผักสดกับน้ำพริก
  • เอื้องหมายนา หรือเอื้องต้น (Costus speciosus)  หน่ออ่อนต้มใช้เป็นผักจิ้ม
  • เสม็ดชุน(Syzygium grata) ยอดอ่อนใช้    เป็นผักสด
  • เมาะหรือกระดาษขาว (Alocasia odora)    ยอดอ่อนใช้แกงเลียง แกงเผ็ด แกงไตปลา
  • หวาย (Calamus spp.) หวายแทบทุกชนิด    ใช้เป็นอาหารได้ โดยใช้ส่วนของเนื้ออ่อนคอต้น    หรือส่วนโคนใบ เมื่อลอกกาบใบออก จะพบเนื้ออ่อนกินสดๆ หรือปรุงอาหารอย่างอื่น
  • หวายงวย (Calamus peregrinus) ผลสุกอมีรสเปรี้ยว ใช้ใส่แกงให้มีรสออกเปรี้ยว
  • พยอมหรือสุกรม (Shorea roxburghii)    ดอกใช้ใส่แกงส้ม แกงเลียง ลวกจิ้มน้ำพริก ทอดกับไข่
  • ชะมวงหรือส้มมวง (Garcinia cowa) ใบมี    รสเปรี้ยว ใช้ใส่ต้มปลา ต้มหมู ต้มเครื่องใน
  • ส้มแขกหรือส้มพะงุน (Garcinia atroviridis)    ผลสดและเนื้อในผลตากแห้งมีรสเปรี้ยวใช้ใส่ต้มเนื้อ    ต้มปลา แกงส้ม และน้ำแกงขนมจีน
  • มันปู (Glochidion wallichianum) ยอดอ่อน    กินเป็นผักสด นิยมกินกับขนมจีนทางภาคใต้
  • มะกอกป่า (Spondias pinnata) ใบอ่อน    และช่อดอก ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริกและหลน
  • แฟบหรือหูลิง (Hymenocardia wallichii)    ผลอ่อนกินสด ใส่แกงเลียง แกงส้ม
  • พาโหมหรือกระพังโหม (Paederia linearis    และ P. foetida) ใช้เป็นผักผสมข้าวยำทางภาคใต้    จิ้มน้ำพริก ทั้งผัดทั้งต้ม กินกับแกงไตปลา
  • ผักหนาม (Lasia spinosa) ยอดอ่อนต้มจิ้ม    น้ำพริก แกงส้ม ผัด ลำต้นอ่อนปอกผิวออก    ดองเป็นผักแกล้มแกงไตปลาและขนมจีน
  • กุ่มน้ำ (Crateva magna และ C. religiosa)    ใบอ่อนและดอก ลวกหรือดองเป็นผักจิ้มน้ำพริก
  • กำจัดต้น (Zanthoxylum limonella) เมล็ด    ใช้เป็นเครื่องเทศผสมกับเครื่องแกงให้มีรสหอม    และเผ็ดร้อน ใบอ่อนใช้เป็นผักจิ้ม
  • สะทอนหรือสะท้อนน้ำผัก (Milettia utilis)    ชาวบ้านแถบจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก นำ    ใบสะทอนมาหมักเพื่อทำเครื่องปรุงอาหารที่มีรส    เค็มหอมคล้ายน้ำปลา

กลุ่มพืชไม้ผล
       พรรณไม้ในป่าหลายชนิด ให้ผลที่มีรสและคุณค่าทางโภชนาการ ชนพื้นบ้านนำมาใช้บริโภค แบบผลไม้เศรษฐกิจทั่วไป มีเพียงไม่กี่ชนิด ที่นำมาปลูกตามบ้านหรือหัวไร่ปลายนา เช่น

  • คอแลนหรือหมากแวว (Nephelium hypoleucum) ผลคล้ายลิ้นจี่ แต่มีเมล็ดใหญ่เนื้อหุ้มเมล็ดบาง รสค่อนข้าวเปรี้ยว ใช้กินกับเกลือหรือน้ำปลาหวาน
  • เงาะขนสั้น (Nephelium ramboutan-ake) ผลคล้ายเงาะ แต่ขนสั้นเหลือแค่โคน เนื้อหุ้มเมล็ดรสหวานไม่เท่าเงาะ พบบ้างตามตลาด ชนบททางภาคใต้ตอนล่าง มีมากในประเทศมาเลเซีย
  • ตะคร้อหรือมะโจ๊ก (Schleichera oleosa) ผลสุกกินได้
  • กระหรือประ (Elateriospermum tapos)    ทางภาคใต้นำเมล็ดมาคั่วแกะกินเนื้อใน
  • หว้า (Syzygium cumini) ผลสุกสีดำ รสฉ่ำหวาน
  • มะขามป้อม (Phyllanthus emblica) ผลสดใช้อมหรือเคี้ยว ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ ผลแห้งนำมาต้มดื่มแก้ไอ แก้ไข้
  • มะดัน (Garcinia schomburgkiana)ผลมีรสเปรี้ยวจัดใช้แทนมะนาวได้ดี มักนิยมนำไปดองน้ำเกลือ เพื่อทำให้รสเปรี้ยวลดลง และเก็บไว้ได้นาน
  • ก่อหนาม ก่อเดือย ก่อแป้น (Castanopsis spp.)ไม้ก่อหลายชนิด มีผลที่มีหนามหุ้ม เมื่อนำเมล็ดไปคั่วแกะกินเนื้อใน ได้รสหวานมัน คล้ายลูกเกาลัด
  • ลูกมุดหรือส้มมุด (Mangifera foetida) นิยมปลูกตามบ้าน หรือหัวไร่ปลายนาทางภาคใต้ ผลสุกมีกลิ่นหอม รสหวาน ผลดิบนำมาทำมะม่วงดองได้เช่นเดียวกับมะม่วง
  • มะเม่าหลวง (Antidesma bunius) และ    มะเม่า (A. ghaesembilla) ผลเล็กจำนวนมากออก    เป็นพวงบนช่อ ผลสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว
  • เขลงหรือหยีหรือนางดำ (Dialium cochinchinensis) ผลสุก สีดำ เนื้อหุ้มเมล็ดนุ่นสีน้ำตาลรสหวานอมเปรี้ยว นิยมนำไปคลุกหรือเคลือบน้ำตาลเรียกลูกหยี ชนิดผลโตเรียก กาหยี (Dialium indum) พบทางภาคใต้
  • ต๋าวหรือลูกชิด (Arenga pinnata) ปาล์ม    ออกผลเป็นทะลาย เนื้อในผลกินได้ แต่ต้องต้มให้สุกเสียก่อน นิยมนำไปเชื่อมน้ำตาล เรียกลูกชิด
  • จาก (Nypa fruticans) ปาล์มในป่าโกงกาง    ออกผลเป็นทะลาย เนื้อในผลที่ยังไม่แข็ง มีรสหวานกินได้สดๆ แต่เมื่อผลแก่จัด เนื้อในจะแข็ง    และมีแป้งมาก ต้องนำมาบดเสียก่อน จึงนำมาทำอาหารได้
  • มะตูม (Aegle marmelos) เนื้อของผลสุก    เมื่อแกะเมล็ดทิ้งไปกินได้ รสหวาน ผลดิบนำมาฝาน    เป็นแผ่น ตากให้แห้งแล้วเอาไปย่างไฟพอ    เกรียม ใช้ชงน้ำร้อนแทนชาได้ เรียกชามะตูม    หรือน้ำมะตูม
  • มะไฟ หรือมะไฟป่า (Baccaurea sapida)    ผลสุกรสหวาน เช่นเดียวกับมะไฟบ้าน แต่มะไฟในป่า ผลมักจะมีรสหวานอมเปรี้ยว บางต้นมีรสเปรี้ยว
  • จัดละไม หรือรำไบ (Baccaurea motleyana)    ผลสุกกินได้คล้ายมะไฟ รสหวานอมเปรี้ยว
  • ส้มโหลก หรือส้มหูก (Baccaurea lanceolata)    ผลคล้ายมะไฟ ผลสุกสีนวล รสเปรี้ยวจัด เปลือกหนาใช้ประกอบอาหาร
  • ลังแขหรือลำแข (Baccaurea macrophylla)    ผลใหญ่ เปลือกหนามาก เมล็ดมีเนื้อหนากรอบ    รสหวาน
  • ละมุดสีดา หรือละมุดไทย (Manikara kauki)    ผลรูปไข่ขนาดพุทราสุก สีน้ำตาลอมเหลือง รสหวาน    มี ๒-๓ เมล็ด เป็นผลไม้พื้นบ้านของไทยในสมัยก่อน ปัจจุบันหายาก   

พืชที่ใช้ทำกระดาษ
        กระดาษสา ทำจากต้นปอกระสา (Broussonetia papyrifera) และกระดาษข่อย ทำจากต้นข่อย (Streblus asper)
สมุดไทยที่ทำขึ้นจากกระดาษสาเรียก "สมุดสา" ทำจากกระดาษข่อยเรียก "สมุดข่อย"ใช้ตามชนบทในสมัยก่อน สมุดมีลักษณะเป็นกระดาษแผ่นเดียว ยาวติดต่อกันไปตลอดเล่ม ด้วยการพับทบกลับไปกลับมา จนเป็นเล่มหนา กว้างยาวเท่าใด ก็ได้ สามารถเขียนภาพประกอบ ทั้งภาพลายเส้น และภาพสีประเภทจิตรกรรมลงสมุดได้ด้วย
การเขียนหนังสือลงบนวัสดุที่ทำจากพืช ที่นิยมกันมากในสมัยโบราณอีกแบบหนึ่ง ได้แก่    การจารึกลงใบลาน (Corypha umbraculifera)    หรือใบตาล (Borassus flabellifer) เรียกว่า    "คัมภีร์ใบลาน" การเขียนตัวอักษรลงบนใบลาน    เรียกว่า "การจาร" โดยใช้การฝังเขม่าสีดำลงไปในร่องที่ขีดไว้บนใบลาน แล้วขัดตกแต่งใบลานให้สะอาด จะได้ตัวอักษรสีดำ ฝังอยู่ในเนื้อของใบลาน    การทำคัมภีร์ใบลานในสมัยก่อน จะใช้เข้าห่อ หรือผูกห่อคัมภีร์ ตกแต่งปกหน้าหลัง เช่นเดียวกับสมุดในปัจจุบัน

 

ที่มา http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/index.php

 

Tags :

458 ความคิดเห็น

  1. 458
    รูปประจำตัว
    gama-casino-news.ru jettpokorny@yahoo.com 29/10/2024 11:27
    Игровая платформа gama casino предлагает разнообразие игровых автоматов для всех

    азартных игроков. На официальном сайте gama casino найти лучшие игры

    , а вход на gama casino дает возможность легко начать игру .





    Для доступа в любое время gama casino предоставляет зеркало — gama casino

    зеркало и гама зеркало помогут в случае блокировок .

    Также, gama casino tg предоставляет доступ к последним новостям

    и оперативному входу в систему.





    Благодаря gama casino рабочее зеркало {игроки могут войти

    в гамма казино и использовать казино гамма} без перебоев.

    Это делает gama casino игровые

    автоматы доступными круглосуточно.

    Не забудьте использовать gama рабочее зеркало для стабильного доступа

    к лучшим играм .
  2. 457
    รูปประจำตัว
    Sahabet kathlenevanderpool@yahoo.com 26/10/2024 06:46
    Populer slotlar Sahabet casino'da şanslı oyuncularını cağırıyor
  3. 456
    รูปประจำตัว
    https://www.teknotalk.com/kworks22-demo-gunu-13-yenilikci-girisimin-tanitimiyla-gerceklesti-126808/ verla.darcy@gmail.com 20/09/2024 12:49
  4. 455
    รูปประจำตัว
    https://chicago.eater.com/2022/1/28/22905273/chinese-asian-lunar-new-year-2022-best-chicago-restaurants-bars-pop-ups marjoriesalisbury@free.fr 05/09/2024 17:13
    The article on Eater Chicago explores a variety of dining spots in Chicago celebrating the Lunar New Year.

    It features festive offerings and pop-up events focused on Chinese

    and Asian cuisine. For those craving Asian specialties,

    this guide provides excellent recommendations of places to visit.

    Check out the full article to plan your Lunar New Year celebration in Chicago.
  5. 454
    รูปประจำตัว
    https://stereocristal.mx/merlina-la-serie-de-tim-burton-que-rompio-el-record-en-reproducciones/ fletcheralbertson@outlook.com 29/08/2024 20:56
  6. 453
    รูปประจำตัว
    Мотель бейтсов 1 сезон lillianshuman@gmail.com 13/04/2023 10:32
    Link exchange is nothing else however it is only placing the other person's web site link on your page at suitable place

    and other person will also do same for you.
  7. 452
    รูปประจำตัว
    не продавая - 10 секретных спо ross.christ@googlemail.com 28/03/2023 08:09
    Любовь женщины к себе сравнима с любовью, которую испытывает к ней мужчина.

    Она вполне может быть удовлетворена отношениями, в которых

    чувство направлено односторонне.

    Женщины именно такого типа имеют довольно большой успех у

    противоположного пола, так как в большинстве случаев,

    мужчины отказываются от собственного

    нарциссизма и испытывают потребность в любви к объекту.

    не продавая - 10 секретных

    способов
  8. 451
    รูปประจำตัว
    egh noebrothers@mailas.com 26/03/2023 06:29
  9. 450
    รูปประจำตัว
    website lenore.mcgeorge@gmail.com 18/03/2023 14:10
  10. 449
    รูปประจำตัว
    Эскизы piperwillason@yahoo.com 21/02/2023 19:02
  11. 448
    รูปประจำตัว
    Бенуар victorinatullipan@googlemail.com 21/02/2023 18:48
  12. 447
    รูปประจำตัว
    ____ _______ emilio_burk@gmx.net 27/09/2020 18:20
    cRGU aTy HUl LSaW hrZ Flc EzDE oGP pOW
  13. 446
    รูปประจำตัว
    ______ leomagrunewald@bigstring.com 06/09/2020 22:42
    ______ ________ _____ ______ __________ _ _______ ________ ______

    ________ ______, _______, ___________, ___,

    ________ ______
  14. 445
    รูปประจำตัว
    Margaret priscillaoswald@gmail.com 23/03/2020 09:05
    I like the helpful information you provide in your articles.

    I'll bookmark your weblog and check again here frequently.



    I'm quite certain I will learn lots of new stuff right here!

    Good luck for the next!
  15. 444
    รูปประจำตัว
    qsp token michaelkopf@gmail.com 21/03/2020 22:46
    Nice post. I was checking constantly this blog and I'm impressed!

    Very helpful information specifically the last part :) I care for such info much.

    I was seeking this certain info for a long time. Thank you and best of luck.
  16. 443
    รูปประจำตัว
    ____ owendunkley@gmail.com 20/03/2020 12:58
    you are in point of fact a good webmaster. The web site loading velocity is amazing.

    It sort of feels that you're doing any distinctive trick.

    Moreover, The contents are masterwork. you have done a magnificent activity in this subject!
  17. 442
    รูปประจำตัว
    private elanaflatt@gmail.com 19/03/2020 19:16
    Its like you learn my thoughts! You seem to grasp

    a lot approximately this, such as you wrote the e-book in it or something.



    I believe that you just could do with a few % to pressure the message house a bit,

    however other than that, that is excellent

    blog. A great read. I will definitely be back.
  18. 441
    รูปประจำตัว
    Fire Blankets halcatlett@gmx.net 18/03/2020 12:13
    Very good info. Lucky me I found your website by chance (stumbleupon).



    I have bookmarked it for later!
  19. 440
    รูปประจำตัว
    Colorado springs chiropractor vancewinstead@bigstring.com 18/03/2020 00:47
  20. 439
    รูปประจำตัว
    pet gps modesta.pamphlett@gmail.com 14/03/2020 11:15
    I read this piece of writing completely concerning the

    difference of newest and preceding technologies, it's amazing article.
  21. 438
    รูปประจำตัว
    Celeste lakeisha_mauer@live.com 12/03/2020 06:03
    I_m not that much of a internet reader to be

    honest but your blogs really nice, keep it up! I'll go ahead and bookmark your site to come back later on. Cheers
  22. 437
    รูปประจำตัว
    Dorothy alizayoder@gawab.com 10/03/2020 04:24
    Everything is very open with a very clear explanation of the issues.



    It was really informative. Your website is very helpful.



    Thank you for sharing!
  23. 436
    รูปประจำตัว
    internet-marketing-agency37047.mybloglicious.com latisha_thynne@gmail.com 07/03/2020 14:11
    Greetings! Quick question that's completely off topic.

    Do you know how to make your site mobile friendly?

    My website looks weird when browsing from my iphone 4.

    I'm trying to find a template or plugin that might be able to fix this problem.



    If you have any suggestions, please share. Thanks!
  24. 435
    รูปประจำตัว
    digital-marketing-consult41727.timeblog.net crystlegore@gawab.com 07/03/2020 01:43
    Great blog here! Also your web site loads up very fast!

    What host are you using? Can I get your affiliate link to

    your host? I wish my web site loaded up as fast as yours lol
  25. 434
    รูปประจำตัว
    Georgia boriszeller@whale-mail.com 05/03/2020 13:58
    This website really has all the information and facts I needed

    about this subject and didn't know who to ask.
  26. 433
    รูปประจำตัว
    travel refugiowillett@gawab.com 04/03/2020 13:30
    Oh my goodness! Impressive article dude! Thank you so much, However I

    am experiencing difficulties with your RSS. I don't know the reason why

    I cannot join it. Is there anybody else having identical RSS problems?

    Anyone that knows the answer can you kindly respond? Thanx!!
  27. 432
    รูปประจำตัว
    Custom T-shirt design printing victorinafreeling@gmail.com 04/03/2020 08:31
    Magnificent beat ! I would like to apprentice while you amend

    your site, how could i subscribe for a blog site?



    The account helped me a acceptable deal. I had been a little bit acquainted of this your broadcast provided bright clear concept
  28. 431
    รูปประจำตัว
    best luxury safari lodges in botswana benny_clymer@inbox.com 27/02/2020 13:25
    Excellent blog you have here but I was curious about

    if you knew of any community forums that cover the

    same topics discussed here? I'd really like to be a part of online community where I can get suggestions from other experienced people that share the same interest.

    If you have any recommendations, please let me know. Cheers!
  29. 430
    รูปประจำตัว
    Catharine deweymatteson@peacemail.com 27/02/2020 07:19
    Good day! Do you know if they make any plugins to safeguard

    against hackers? I'm kinda paranoid about losing everything I've worked hard on. Any

    recommendations?
  30. 429
    รูปประจำตัว
    ________ evacornett@inbox.com 26/02/2020 22:58
    My brother suggested I might like this blog.

    He was entirely right. This post actually made my day.

    You cann't imagine just how much time I had spent for this information! Thanks!

แสดงความคิดเห็น

*

*

 
ติดต่อเรา / Contact us E-mail : Bailang@windows.com Or http://bailang.igetweb.com
view