http://bailang.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  ต้นเหลียง
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 27/06/2011
ปรับปรุง 12/03/2021
สถิติผู้เข้าชม1,312,020
Page Views1,764,261
Menu
หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
ข้อมูลต้นเหลียง
ผักปลอดสารพิษ
ผักพื้นบ้าน
iGetWeb.com
เว็บสำเร็จรูป ทำเว็บ สร้างเว็บ




 

คุณค่าทางโภชนาการของพืชผักพื้นบ้านในประเทศไทย

คุณค่าทางโภชนาการของพืชผักพื้นบ้านในประเทศไทย

สรุปการบรรยายประชุมวิชาการกรมพัฒน์ 

เรื่อง "คุณค่าทางโภชนาการของพืชผักพื้นบ้านในประเทศไทย"

โดย อ.ณัฐ อาจสมิติ  ณ ห้องประชุมเบญจกูล กรมพัฒน์ฯ

พืชผักพื้นบ้าน  หมายถึง พรรณพืชผักพื้นบ้านหรือพรรณไม้พื้นเมืองท้องถิ่น ที่นำมาบริโภคกันในท้องถิ่น ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือนำมาปลูกไว้เพื่อสะดวกในการเก็บมาบริโภค ผักพื้นบ้าน จึงมีชื่อเฉพาะในแต่ละท้องถิ่นและมักนำไปประกอบอาหารตามท้องถิ่นนั้น ๆด้วยเหตุนี้ผักพื้นบ้านจึงเป็นแหล่งอาหารที่หาได้ง่ายในชนบทของ ประเทศไทย ประชาชนนิยมปลูกไว้เพื่อบริโภคเองในครัวเรือน หรือ นำมาขายเพื่อเพิ่มรายได้ ที่สำคัญผักพื้นบ้านมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการมากมาย ผักพื้นบ้านแบ่งตามการนำส่วนต่างๆของพืชผัก มาบริโภค เป็น 5 ประเภท ดังนี้1. ใบและยอด เช่น ผักบุ้ง ผักตำลึง ยอดชะเอม2. รากและหัว เช่น มันเทศ ขิง ข่า ขมิ้น3. ดอก เช่น ดอกขจร ดอกโสน ดอกสะเดา4. ฝัก เช่น เพกา สะตอ มะรุม5. ผล เช่น มะเขือ น้ำเต้าผักพื้นบ้านแบ่งตามภาค 4 ภาคดังนี้1. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ เช่น กระทือ ผักหวานบ้าน พริกหนุ่ม ฟักแม้ว2. ผักพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ผักแพว ผักแขยง ผักพาย ผักไผ่ ผักแว่น3. ผักพื้นบ้านภาคกลาง เช่น ตำลึง บวบ มะขี้นก 4. ผักพื้นบ้านภาคใต้ เช่น สะตอ ผักกูด ผักมันปู

คุณค่าทางโภชนาการของผักพื้นบ้าน

คุณค่าของผักพื้นบ้านมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการมากมาย ในอดีตคนไทยมีการบริโภคผักพื้นบ้านในชีวิตประจำวันโดยนำมาปรุงเป็นอาหารหรือ นำมาแปรรูปเก็บไว้ยามขาดแคลน ซึ่งในผักพืชบ้านประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่มีความจำ เป็นต่อร่างกาย ดังนี้ 1. ใยอาหาร (Dietary Fibre) ใยอาหาร หมายถึง ส่วนประกอบของพืชที่รับประทานได้ และคาร์โบไฮเดรตประเภทเดียวกันที่ไม่ถูกย่อยและไม่ดูดซึมในลำไส้เล็กของ มนุษย์ แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งใยอาหารนั้นมีชนิดที่ละลายน้ำ และชนิดที่ไม่ละลายน้ำ เช่น ชนิดที่ละลายน้ำได้แก่เมล็ดแมงลัก ส่วนชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่ เสี้ยนของผักคะน้า เป็นต้นการบริโภคพืชผักพื้นบ้านที่มีใยอาหารจะช่วยเพิ่มปริมาณของอุจจาระ ช่วยในการขับถ่ายทำให้ ท้องไม่ผูก ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล(Cholesterol) และลดการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้

ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคใยอาหาร 25 กรัม (ก.) ต่อวัน การบริโภคใยอาหารมากกว่า 50 กรัมต่อวัน อาจขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิดได้เช่น แคลเซียม

ตัวอย่างปริมาณใยอาหารที่มีในผักพื้นบ้าน

ผักจวง

     24.3     

กรัม / 100 กรัม

ดอกขจร

22.3

กรัม / 100 กรัม

ผักมันปู

16.7

กรัม / 100 กรัม

ผักหมุย

14.2

กรัม / 100 กรัม

ดอกสะเดา

12.2

กรัม / 100 กรัม

ยอดอ่อนมะกอก

11.5

กรัม / 100 กรัม

ดอกขี้เหล็ก

9.8

กรัม / 100 กรัม

ใบเหลียง

8.8

กรัม / 100 กรัม

ดอกแค

7.2

กรัม / 100 กรัม

ผักเม่า

7.1

กรัม / 100 กรัม

ยอดขี้เหล็ก

5.6

กรัม / 100 กรัม

ยอดแค

5.1

กรัม / 100 กรัม

ใบหยี่หร่า

5.9

กรัม / 100 กรัม

ฝักกระเจี๊ยบมอญ

4.2

กรัม / 100 กรัม

ผักแมะ

3.8

กรัม / 100 กรัม

ผักลำปะสี

3.3

กรัม / 100 กรัม

2. แร่ธาตุ (Mineral)ในพืชผักพื้นบ้านมีแร่ธาตุ แคลเซียม ฟอสฟอรัสและเหล็ก ซึ่งปริมาณขึ้นอยู่กับพืชผักพื้นบ้าน แต่ละชนิด ดังนี้

2.1 แคลเซียม ( Calcium : Ca)เป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน ช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจ ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ คนเราจึงจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมจากอาหาร ซึ่งแคลเซียมมักมีอยู่มากในอาหารจำพวกนม ปลาตัวเล็กที่รับประทานทั้งก้าง ในขณะเดียวกันก็มีในผักพื้นบ้านอีกด้วย ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคแคลเซียม ผู้ใหญ่ อายุ 19-50 ปี ควรบริโภค 800 มิลลิกรัม( มก.) ต่อวัน ส่วนผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปควรบริโภค 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

ตัวอย่างปริมาณแคลเซียมที่มีในผักพื้นบ้าน

ใบชะพลู

   601

กรัม / 100 กรัม

ผักแพว

573

กรัม / 100 กรัม

ใบยอ

469

กรัม / 100 กรัม

ยอดแค

395

กรัม / 100 กรัม

ผักกะเฉด

387

กรัม / 100 กรัม

ยอดสะเดา

354

กรัม / 100 กรัม

ใบโหระพา

336

กรัม / 100 กรัม

ผักเดือยดิน

228

กรัม / 100 กรัม

มะเขือพวง

158

กรัม / 100 กรัม

ยอดขี้เหล็ก

156

กรัม / 100 กรัม

ใบย่านาง

155

กรัม / 100 กรัม

ผักเสี้ยว

152

กรัม / 100 กรัม

ใบเหลียง

151

กรัม / 100 กรัม

ใบบัวบก

146

กรัม / 100 กรัม

ยอดผักแส้ว

142

กรัม / 100 กรัม

ใบแมงลัก

140

กรัม / 100 กรัม

การรับประทานพืชผักพื้นบ้านทำให้เราได้รับแคลเซียมอีกทางหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันพืชบางชนิด เช่น ใบชะพลู มีปริมาณออกซาเลต(oxalate)ค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณมากๆและติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดนิ่วในไตหรือ กระเพาะปัสสาวะได้

2.2 ฟอสฟอรัส (Phosphorus : P)เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อชีวิต มีบทบาทสำคัญคือเป็นส่วนประกอบของกระดูกโดยรวมตัวกับแคลเซียม และเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ ปริมาณที่แนะนำให้บริโภค ผู้ใหญ่ควรบริโภค700 มิลลิกรัมต่อวัน

ตัวอย่างปริมาณฟอสฟอรัสที่มีในผักพื้นบ้าน

ใบกะเพราแดง

     287     

กรัม / 100 กรัม

ผักแพงพวย

277

กรัม / 100 กรัม

ผักไผ่

272

กรัม / 100 กรัม

ใบเหลียง

224

กรัม / 100 กรัม

ยอดขี้เหล็ก

190

กรัม / 100 กรัม

ขมิ้นขาว

158

กรัม / 100 กรัม

ยอดฟักข้าว

138

กรัม / 100 กรัม

มะเขือพวง

110

กรัม / 100 กรัม

ผักเสี้ยว

107

กรัม / 100 กรัม

ยอดขี้เหล็ก

156

กรัม / 100 กรัม

ผักเชียงดา

98

กรัม / 100 กรัม

ดอกขจร

90

กรัม / 100 กรัม

ยอดผักฮ้วน

90

กรัม / 100 กรัม

ยอดผักฮวด

84

กรัม / 100 กรัม

สะตอ

83

กรัม / 100 กรัม

ยอดชะเอม

80

กรัม / 100 กรัม

2.3 เหล็ก (Iron : Fe)เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง การขาดธาตุเหล็กทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ปริมาณที่แนะนำให้บริโภค ผู้ใหญ่เพศชายให้บริโภค 10.4 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนเพศหญิงให้บริโภค 24.7มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งธาตุเหล็กก็มีอยู่ในพืชผักพื้นบ้านหลากหลายชนิด

ตัวอย่างปริมาณธาตุเหล็กที่มีในผักพื้นบ้าน

ผักกูด

     36.3     

กรัม / 100 กรัม

ใบแมงลัก

17.2

กรัม / 100 กรัม

ผิวมะกรูด

16.7

กรัม / 100 กรัม

ใบกะเพราแดง

15.1

กรัม / 100 กรัม

ผักเม็ก

11.5

กรัม / 100 กรัม

ใบสะระแหน่

4.8

กรัม / 100 กรัม

ยอดอ่อนกระถิน

9.2

กรัม / 100 กรัม

ยอดตำลึง

4.6

กรัม / 100 กรัม

ใบชะพลู

7.6

กรัม / 100 กรัม

มะเขือพวง

7.1

กรัม / 100 กรัม

ใบย่านาง

7.0

กรัม / 100 กรัม

ยอดขี้เหล็ก

5.8

กรัม / 100 กรัม

ผักกะเฉด

5.3

กรัม / 100 กรัม

ยอดอ่อนมะกอก

9.9

กรัม / 100 กรัม

ผักแพว

4.6

กรัม / 100 กรัม

ดอกโสน

8.2

กรัม / 100 กรัม

3. สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)อนุมูลอิสระหรือประจุอิสระ (Free radical) คือ สารที่มีอะตอม/หมู่อะตอม/โมเลกุลที่มีอิเลคตรอนเดี่ยวจึงเกิดความไม่คงตัว ต้องแย่งอิเลคตรอนจากโมเลกุลข้างเคียง ทำให้เกิดความเสื่อมสลายเซลล์เป็นบริเวณกว้าง ร่างกายของคนเราได้รับอนุมูลอิสระทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นมลพิษต่าง ๆ จากอากาศ อาหาร ที่มีสารเคมีปนเปื้อน ภายในร่างกายเองก็เกิดความเครียด อนุมูลอิสระในขนาดที่พอดีจะมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีใน เซลล์ กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว แต่ถ้ามีมากเกินไปทำให้เกิดความเสื่อมของร่างกายอาจถึงรหัสพันธุกรรม ทำให้การแบ่งเซลล์ผิดปกติเป็นสาเหตุของมะเร็ง ในพืชจะมีการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อความอยู่รอด ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระในธรรมชาติ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอีที่มีในผักผลไม้ ผักพื้นบ้านที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมีดังนี้3.1 เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene)

เบต้าแคโรทีน จัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์สามารถเปลี่ยนรูปเป็นเรตินอลได้ในทางเดินอาหาร เชื่อว่า แคโรทีนอยด์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

ตัวอย่างปริมาณเบต้าแคโรทีนที่มีในผักพื้นบ้าน

ผักลำปะสี

    15,157   

ไมโครกรัม / 100 กรัม

มักแมะ

9,102

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ใบกะเพราแดง

7,875

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ใบยี่หร่า

7,408

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักเชียงดา

5,905

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักมันปู

5,646

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักหมุย

5,390

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ยอดตำลึง

5,190

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ยอดฟักข้าว

4,782

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักหวาน

4,756

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ยอดผักแส้ว

4,366

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักจุมปา

4,086

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักเม่า

4,057

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักกะเฉด

3,710

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักสะเดา

3,611

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักกะออม

3,403

ไมโครกรัม / 100 กรัม

3.2 วิตามิน (Vitamin)ในผักพื้นบ้านมีวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ และวิตามินซี

3.2.1 วิตามินเอ (Vitamin A)มีความสำคัญต่อการมองเห็น การเจริญเติบโตของเซลล์ ระบบภูมิคุ้มกัน และการสร้างเม็ดเลือด ปริมาณที่แนะนำให้บริโภค ผู้ใหญ่เพศชายควรบริโภค 700ไมโครกรัมต่อวัน เพศหญิงควรบริโภค 600 ไมโครกรัมต่อวัน

ตัวอย่างปริมาณวิตามินเอที่มีในผักพื้นบ้าน

ผักลำปะสี

   2,526   

ไมโครกรัม / 100 กรัม

มักแมะ

1,517

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ใบกะเพราแดง

1,310

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักชีลาว

1,306

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ใบยี่หร่า

1,235

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ใบเหลียง

1,089

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ใบแมงลัก

1,066

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ยอดชะอม

1,007

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักเชียงดา

984

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักมันปู

941

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักปลัง

932

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักหมุย

898

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ยอดอ่อนตำลึง

865

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักไผ่

811

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ยอดฟักข้าว

797

ไมโครกรัม / 100 กรัม

ผักหวาน

792

ไมโครกรัม / 100 กรัม

3.2.2 วิตามินซี (Vitamin C)มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์คอลลาเจน คาร์นิทีน สารเหนี่ยวนำกระแสประสาท เพิ่มภูมิต้านทานและช่วยในการดูดซึมเหล็ก มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณที่แนะนำให้บริโภค ผู้ใหญ่เพศชายควรรับประทาน 90 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนเพศหญิงควรรับประทาน 75 มิลลิกรัมต่อวัน

ตัวอย่างปริมาณวิตามินซีที่มีในผักพื้นบ้าน

ดอกขี้เหล็ก

    484    

มิลลิกรัม / 100 กรัม

ดอกผักฮ้วน

472

มิลลิกรัม / 100 กรัม

ยอดผักฮ้วน

351

มิลลิกรัม / 100 กรัม

ยอดอ่อนมะยม

302

มิลลิกรัม / 100 กรัม

ยอดสะเดา

194

มิลลิกรัม / 100 กรัม

ใบเหลียง

192

มิลลิกรัม / 100 กรัม

มะระขี้นก

190

มิลลิกรัม / 100 กรัม

ผักหวาน

168

มิลลิกรัม / 100 กรัม

ผักเชียงดา

153

มิลลิกรัม / 100 กรัม

ยอดอ่อนมะตูม

126

มิลลิกรัม / 100 กรัม

ผักกระโดน

126

มิลลิกรัม / 100 กรัม

ดอกสะเดา

123

มิลลิกรัม / 100 กรัม

ผักออบแอบ

118

มิลลิกรัม / 100 กรัม

ผักแพว

115

มิลลิกรัม / 100 กรัม

ผักพื้นบ้านชนิดใดที่สามารถรับประทานสดได้ควรรับประทานสด แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ความร้อนในการปรุงอาหารควรใช้ในเวลาสั้นๆ เพื่อลดการสูญเสียวิตามินซี4. โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ( Protien and Carbohydrate) นอกจากนั้นในผักพื้นบ้านยังมีสารอาหารประเภทโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต อีกด้วย ซึ่งโปรตีนเป็นส่วนประกอบโครงสร้างของร่างกาย มีหน้าที่ช่วยในการเจริญเติบโต คาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน

4.1 สารอาหารประเภทโปรตีน จะมีมากในเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว แต่ในขณะเดียวกันผักพื้นบ้านก็มีโปรตีนเช่นกัน แต่จะมีปริมาณที่น้อยกว่า ดังตัวอย่างของผักพื้นบ้านต่อไปนี้

ตัวอย่างผักพื้นบ้านที่มีสารอาหารประเภทโปรตีน

ยอดชะอม

      9.5     

กรัม / 100 กรัม

ยอดกระถิน

8.4

กรัม / 100 กรัม

ยอดแค

8.3

กรัม / 100 กรัม

ผักหวาน

8.2

กรัม / 100 กรัม

สะตอ

8.0

กรัม / 100 กรัม

ยอดขี้เหล็ก

7.7

กรัม / 100 กรัม

ใบเหลียง

6.6

กรัม / 100 กรัม

ผักกะเฉด

6.4

กรัม / 100 กรัม

ผักเสี้ยว

6.3

กรัม / 100 กรัม

ยอดอ่อนมะตูม

6.1

กรัม / 100 กรัม

ยอดอ่อนมะระ

5.8

กรัม / 100 กรัม

ผักแมะ

5.7

กรัม / 100 กรัม

ใบย่านาง

5.6

กรัม / 100 กรัม

ยอดฟักข้าว

5.6

กรัม / 100 กรัม

ยอดมะยมอ่อน

5.6

กรัม / 100 กรัม

ดอกสะเดา

5.5

กรัม / 100 กรัม

ปริมาณโปรตีนที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน ผู้ใหญ่เพศชายให้บริโภค 700 ไมโครกรัมต่อวัน ผู้ใหญ่เพศหญิงให้บริโภค 600 ไมโครกรัมต่อวัน

4.2 สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานหลัก โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม เมื่อถูกเผาผลาญในร่างกายจะให้พลังงานประมาณ 4 กิโลแคลอรี่ หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตช่วยสร้างไกลโคเจนเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองของตับ และกล้ามเนื้อ อาหารที่มีสารอาหารจำพวกคาร์ไบไฮเดรตมาก ได้แก่ ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน แต่ผักพื้นบ้านบางชนิดก็มีสารอาหารคาร์โบไฮเดรตอยู่เช่นกัน

ตัวอย่างผักพื้นบ้านที่มีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

ผักจวง

    35.8   

กรัม / 100 กรัม

ตะไคร้

29.7

กรัม / 100 กรัม

ผักเดือยดิน

28.3

กรัม / 100 กรัม

ผักมันปู

25.2

กรัม / 100 กรัม

ใบย่านาง

24.0

กรัม / 100 กรัม

ข่า

22.1

กรัม / 100 กรัม

ผิวมะกรูด

21.1

กรัม / 100 กรัม

ผักหมุย

20.3

กรัม / 100 กรัม

ใบชะพลู

18.8

กรัม / 100 กรัม

ผักกะโดน

18.8

กรัม / 100 กรัม

ดอกขี้เหล็ก

18.7

กรัม / 100 กรัม

ยอดอ่อนมะกอก

18.0

กรัม / 100 กรัม

ยอดอ่อนมะยม

17.2

กรัม / 100 กรัม

สะตอ

16.0

กรัม / 100 กรัม

ใบเหลียง

15.8

กรัม / 100 กรัม

ผักเม็ก

15.8

กรัม / 100 กรัม

จากข้อมูลทั้งหมดสนับสนุนว่า พืชผักพื้นบ้านของไทยมีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการต่อสุขภาพเป็นอย่าง มาก มีทั้งใยอาหารเพื่อช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย มีสารอาหารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินซี เป็นต้น จะเห็นได้ว่าผักพื้นบ้านหลายชนิดที่มีคุณค่าทางโภชนาการในหลายๆด้าน และมีปริมาณสารอาหารสูง ซึ่งถ้าเราบริโภคผักพื้นบ้านแม้เพียงชนิดเดียวหรือในปริมาณเล็กน้อยก็สร้าง คุณค่าทางโภชนาการได้อย่างมหาศาล นอกจากนี้มีผักพื้นบ้านหลายชนิดที่สามารถปลูกเพื่อการค้าและส่งออกไปจำหน่าย ยังต่างประเทศ สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศอีกทางหนึ่งด้วย

เรียบเรียงโดย กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.thaicam.go.th/    

Tags :

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

*

*

 
ติดต่อเรา / Contact us E-mail : Bailang@windows.com Or http://bailang.igetweb.com
view